9/8/52

การอพยพออกนอกประเทศของชาวจีน

นับตั้งแต่ราชวงศ์ถัง (ค.ศ.๖๑๔) ของจีนเป็นต้นมา ในดินแดนเอเชียอาคเนย์ก็มีชาวจีนอพยพมาตั้งรกรากแล้วดังนั้น แม้เวลาล่วงเลยจนถึงปัจจุบัน ชาวจีนโพ้นทะเลก็ยังคงเรียกตัวเองว่า “ถังเหยิน” (คนถัง) เมื่อมาถึงระยะตอนต้นของการเข้าครอบครองแผ่นดินจีนของชนเผ่าแมนจูเรีย (ค.ศ.๑๖๔๔) พวกราชนิกุลและขุนนาง ตลอดจนราษฎรที่จงรักภักดีต่อราชวงศ์หมิง ก็ได้พากันหนีออกนอกประเทศ กระจายไปทุกที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณเอเชียอาคเนย์ เพื่อทำการต่อต้านราชวงศ์แมนจูต่อไป คณะก่อการต่อต้านราชวงศ์แมนจูนี้ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในประวัติศาสตร์ ได้แก่ คณะ “ซานเตี่ยนหุ้ย” เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ทางการจึงตรากฎหมายขึ้น ห้ามราษฎรอพยพออกจากประเทศเป็นอันขาด ผู้ใดฝ่าฝืนหรือถูกจับให้ประหารชีวิตทันที แม้จะมีกฎหมายอันโหดเหี้ยมฉบับนี้ แต่ก็ไม่อาจสกั้นผู้คนที่หนีออกมานอกประเทศเลย


ในสมัยนั้น ผู้ที่ลักลอบออกนอกประเทศโดยเรือสำเภาแดงนั้น มีอันตรายยิ่งนัก เพราะเรืออาจต้องผจญกับพายุในทะเล มีโอกาสอับปางได้ทุกเมื่อ นั่นก็หมายถึงผู้โดยสารในเรือกลายเป็นอาหารอันโอชะของปลาทะเล ดังนั้น บรรพบุรุษของข้าพเจ้า จึงมีคำกล่าวว่า “คนดีย่อมไม่ข้ามน้ำข้ามทะเล”ในระหว่างศตวรรษที่ ๑๙ ประเทศมาหาอำนาจในยุโรปได้อาศัยการทหารและเศรษฐกิจอันแข็งแกร่งออกล่าอาณานิคมไม่ว่าทางอาเชียหรดีหรือเอเชียอาคเนย์ ล้วนไม่พ้นเงื้อมมือจนสุดท้ายลูกศรก็ชี้มายังประเทศจีน นับแต่เกิดสงครามฝิ่นในปี ค.ศ.๑๘๓๘ จนมาถึงการรวมแปดทับเข้าบุกกรุงปักกิ่งประเทศจีนได้ตกอยู่ในสภาวะปราชัยตลอดมา แม้จีนจะรอดพ้นจากการถูกแบ่งแยกดินแดน แต่ก็ได้กลายสภาพเป็นประเทศกึ่งอาณานิคม (ดร.ซุนยัดเซน เรียนกว่าอาณานิคมชั้นรอง) รัฐบาลแมนจูในสมัยนั้น จึงเฉลียวใจว่าดินแดนนอกประเทศจีนออกไปนั้น เป็นโลกที่กว้างใหญ่ไพศาลยิ่งนั้น จึงสำนึกถึงความผิดพลาดในนโยบายปิดประเทศของตัวเองในที่สุดก็ต้องยกเลิกกฎหมายที่ห้ามราษฎรออกนอกประเทศโดยปริยาย


ในปลายศตวรรษที่ ๑๙ ราษฎรในมณฑลกวางตุ้งและฮกเกี้ยนซึ้งอยู่ทางชายฝั่งจีน ได้พากันอพยพออกโพ้นทะเลเป็นขนาดใหญ่ ซึ่งต่างก็เรียกกันว่า “ไปเมืองฮวน”นั่นเอง ชาวจีนโพ้นทะเลที่อาศัยอยู่ในเอเชียอาคเนย์ก็นับวันมากขึ้นทุกทีฐานะทางเศรษฐกิจก็มั่งคั่งขึ้น ตอนที่ ดร.ซุนยัดเซน ก่อการปฏิวัติราชวงศ์แมนจู ก็ได้รับแรงการสนับสนุนจากชาวจีนโพ้นทะเลที่รักชาติ ซึ้งสิงค์โปร์ก็ได้กลายเป็นฐานก่อการปฏิวัติโดยปริยาย ดร.ซุนยัดเซน ก็เคยเดินทางมาสิงค์โปร์และไทยเพื่อปลูกความสำนึกรักชาติของชาวจีนโพ้นทะเล ในวันที่ ๑๐ ตุลาคม ของปี พ.ศ.๑๙๑๑ การก่อการปฏิวัติที่เมืองอู่ชังได้ปะทุขึ้น จนสามารถล้มล้างการปกครองระบอบศักดินาของราชวงศ์แมนจู ซึ่งทางประวัติศาสตร์เรียกว่า การปฏิวัติซินไห่” เนื่องจากชาวจีนโพ้นทะเลมีส่วนในการเกื้อหนุนให้การปฏิวัติสำเร็จนี่เอง ดร.ซุนยัดเซน จึงยกย่องว่า “เป็นรากฐานแห่งการปฏิวัติ”จากปลายศตวรรษที่ ๑๙ จนถึง ๓๐ ปีแรกแห่งศตวรรษที่ ๒๐ นี้ กล่าวได้ว่า เป็นช่วงเวลาที่คนจีนมีการอพยพออกนอกประเทศมากที่สุด ในสมัยก่อนคนจีนมักเรียกต่างประเทศที่อยู่รอบๆ ว่า “ฮวน”ฉะนั้นการอพยพไปต่างประเทศจึงเรียกว่า“ไปเมืองฮวน”แท้ที่จริงแล้ว การอพยพไปเมืองฮวนของชาวจีนนั้น ในระยะแรกเป็นการหนีความอดอยากต้องการไปหาความอยู่รอดในต่างแดนนั้นเอง ต่อเมื่อมีคนไปเมืองฮวนแล้วร่ำรวยกลับมาจึงทำให้คนจีนอื่นๆ พากันฝันหวานที่จะไปร่ำรวยในเมืองฮวน โดยข้อเท็จจริงแล้ว คนที่ชอบอพยพไปต่างแดนแล้วสามารถสร้างตัวได้จนร่ำรวย ส่งเงินทองกลับบ้านเกิดซื้อที่นาและปลูกสร้างบ้านนั้นมีจำนวนเพียงหนึ่งในร้อยหรือหนึ่งในพันเท่านั้น ส่วนใหญ่แล้ว เพียงสามารถส่งค่าใช้จ่ายไปบ้านเพื่อเลี้ยงพ่อแม่ลูกเมีย ๓-๕ ปี หรือแม้กระทั่งนับ ๑๐ ปี สามารถเก็บหอมรอมริบจนมีเงินสักก้อนหนึ่ง แล้วกลับบ้านเกิดเมืองนอนอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันทั้งพ่อแม่ลูกนั้นก็บุญหนักหนาแล้ว


ข้าพเจ้าเกิดปี ค.ศ.๑๙๐๕ ซึ้งเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนพากันไปเมืองฮวนพอดี คำกล่าวว่า “คนดีย่อมไม่ข้ามน้ำข้ามทะเล”นั้นได้หมดสมัยไปแล้ว ชายฉกรรจ์ในหมู่บ้านต่างต้องการไปเมืองฮวนทั้งนั้น มีเพียงคนอ่อนหัดเท่านั้นที่ยอมดันทุรังทำนาอยู่ในหมู่บ้านต่อไป บิดาของข้าพเจ้าแม้เป็นบัณฑิต (คนมีการศึกษาสูง) แต่เมื่อถึงวัยกลางคน ก็ไปเมืองฮวนกับเขาเหมือนกันแต่แล้วก็ประสบความผิดหวังกลับมาในวงศ์ตระกูลของข้าพเจ้ามีชายอกสามศอกอยู่ประมาณ ๒๐๐ กว่าคน ในจำนวนนี้มีกว่าครึ่งที่เฮโรกันไปเมืองฮวน ในระยะหนึ่งร้อยปีมาแล้ว มีเพียงอาคนหนึ่งและลูกพี่ลูกน้องอีกสองคนเท่านั้นที่สามารถร่ำรวยแล้วส่งเงินกลับไปสร้างบ้านซื้อที่นา เมื่อประมาณ ๖๐-๗๐ ปีก่อนประชากรในอำเภอเหมยเชี่ยน (ในมณฑลกวางตุ้ง) มีประมาณ ๓-๔แสนคน ตามที่ทราบมาอย่างน้อยแสนกว่าคนได้ไปเมืองฮวน ภายหลังประสบความสำเร็จฐานะมั่งคั่งกลับไปซื้อที่สร้างบ้าน แม้กระทั่งใช้เงินซื้อตำแหน่งทางราชการก็ยังมีจึงสรุปเป็นคำพูดก่อนจบเรื่องดังนี้


“หนทางนั้นอันตราย สมัยก่อนคนดีไม่ออกจากเมืองแต่บัดดลแปรเปลี่ยนไป มาภายหลังผู้คนพากันไปเมืองฮวน”

1 ความคิดเห็น:

  1. คนจีนสมัยนั้นเวลาออกนอหประเทศต้องขออนุญาติไหมคร้บ

    ตอบลบ