4/8/52

ประวัติศาสตร์ไทย

-----ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ในอดีต พื้นที่ซึ่งเป็นประเทศไทยในปัจจุบันได้มีมนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่ยุคหินเก่าเป็นต้นมา หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิขะแมร์ เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13[10] ทำให้มีรัฐเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในเวลาไม่นานนัก โดยตามตำนานโยนกได้บันทึกไว้ว่า มีการก่อตั้งอาณาจักรของคนไทยขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อราว พ.ศ. 1400[11]


-----ประวัติศาสตร์ไทยเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้น ใน พ.ศ. 1781 ซึ่งตรงกับสมัยอาณาจักรสุโขทัย และสมัยรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา และอาณาจักรล้านช้าง จนกระทั่งอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลงในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 และศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองได้ย้ายไปยังอาณาจักรทางใต้ คือ กรุงศรีอยุธยา แทน ครั้นเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่สอง ใน พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงทรงย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสยามเป็นเวลานาน 15 ปี


-----ภายหลังการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2325 โดยพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี อาณาจักรสยามเริ่มมีความเป็นปึกแผ่น โดยได้มีการผนวกดินแดนบางส่วนของอาณาจักรล้านช้างเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ครั้นในรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการผนวกเอาเมืองเชียงใหม่ หรืออาณาจักรล้านนา อันเป็นการผนวกดินแดนครั้งใหญ่ครั้งสุดท้าย[ต้องการแหล่งอ้างอิง]


-----อาณาจักรสยามเป็นรัฐเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของประเทศใดเลย แต่สยามก็ได้รับอิทธิพลจากประเทศตะวันตกเข้าสู่ประเทศอย่างมาก และนำไปสู่การปฏิรูปประเทศในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุด ได้แก่ การสูญเสียดินแดนขนาดใหญ่ให้แก่อังกฤษและฝรั่งเศส และดำรงตนเป็นรัฐกันชนระหว่างประเทศเจ้าอาณานิคมทั้งสอง รวมไปถึงการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ไทยเสียเปรียบอีกจำนวนหนึ่ง


-----ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้ลงนามเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร แต่เนื่องจากประเทศตะวันตกให้การยอมรับในขบวนการเสรีไทย ประเทศไทยจึงรอดพ้นจากสถานะประเทศผู้แพ้สงคราม และภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ในช่วงสงครามเย็น


-----วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งเป็นคนแรกเป็นผลมาจากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2516 ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นเวลาแล้ว 41 ปี และระหว่างในช่วงเวลานั้น ประเทศไทยประสบกับความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และได้มีการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลทหารผ่านการก่อรัฐประหารหลายสิบครั้ง[ต้องการแหล่งอ้างอิง] อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นมีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยอีกสองครั้งคือ เหตุการณ์ 6 ตุลา และ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ล่าสุดได้เกิดการก่อรัฐประหารขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นการยึดอำนาจจากรัฐบาลรักษาการ หลังจากได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549

ชื่อประเทศไทย
-----คำว่า ไทย มีความหมายในภาษาไทยว่า อิสรภาพ เสรีภาพ เดิมประเทศไทยเคยใช้ชื่อว่า สยาม แต่ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อปัจจุบัน เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2482[12] ตามประกาศรัฐนิยม ฉบับที่ 1 ของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ให้ใช้ชื่อ ประเทศ ประชาชน และสัญชาติว่า "ไทย" โดยในช่วงต่อมาได้เปลี่ยนกลับเป็นสยามเมื่อปี พ.ศ. 2488 ในช่วงเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี แต่ในที่สุดได้เปลี่ยนกลับมาชื่อไทยอีกครั้งในปี พ.ศ. 2491 ซึ่งเป็นช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยต่อมา ช่วงแรกเปลี่ยนเฉพาะชื่อภาษาไทยเท่านั้น ชื่อในภาษาฝรั่งเศส[13] และภาษาอังกฤษคงยังเป็น "Siam" อยู่จนกระทั่งเดือนเมษายน พ.ศ. 2491 จึงได้เปลี่ยนชื่อภาษาฝรั่งเศสเป็น "Thaïlande" และภาษาอังกฤษเป็น "Thailand" อย่างในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ชื่อ สยาม ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น