คนที่ชอบฟุ้งซ่านอยู่เสมอก็เพราะในชีวิตประจำวันปล่อยจิตไปตามยถากรรมอยู่เสมอ ไม่ฝึกจิตให้ได้เห็นความจริงแห่งชีวิต จะทำให้จิตเราไม่ฟุ้งเฟ้อ สงบระงับได้อย่างรวดเร็ววิธีที่จะทำให้จิตสงบอย่างรวดเร็ว ต้องหมั่นระลึกถึงเทวทูตทั้ง 4 เป็นเครื่องเตือนสติในชีวิตประจำวันอยู่ตลอดเวลา
นักปราชญ์บัญฑิตท่านมองเห็นว่า เป็นเครื่องเตือนสติให้เราไม่ประมาทในการสร้างความดี
เมื่อเห็นทุกข์ เห็นโทษ ในการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้แล้ว
ก็จะได้หาทางที่จะได้ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป
พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้เห็นว่า
ทางไปพระนิพพาน เป็นทางไปสู่ความไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ
และไม่ตาย เป็นทางแห่งความหลุดพ้นที่เป็นเป้าหมายปลายทางของมนุษย์ทุกคน
สมัยหนึ่งพระบรมศาสดา ตรัสให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า ……..
พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นสัตว์ที่เกิดตามภพภูมิต่าง ๆ แล้วทรงทราบว่า
หมู่สัตว์ได้เสวยกรรมดี เพราะประกอบด้วย กายสุจริต วจีสุจริต
และมโนสุจริตเป็นสัมมาทิฐิ เชื่อกฎแห่งกรรมว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
เมื่อละโลกไปแล้วก็เข้าถึงสุขติโลกสวรรค์
หรือกลับมาเป็นมนุษย์ก็ถึงพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ
ส่วนผู้ที่ทำความชั่ว
ติเดียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ เมื่อละโลกไปแล้วก็เข้าถึงเปรตวิสัยก็มี
ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็มี เข้าถึงอบายทุกขติ วินิบาศนรก ก็มากมาย
สำหรับผู้ที่ทำกรรมชั่วเอาไว้ เวลาละจากโลกนี้ไปแล้วจะถูกนายนิรยบาล นำไปลงโทษ
เริ่มตั้งแต่ พาไปพบพยายมราช ผู้เป็นใหญ่ในเมืองนรก เป็นเหมือนผู้พิพากษา
คอยทำหน้าที่ตัดสินสัตว์นรกที่ทำกรรมชั่วให้ไปเสวยกรรม
เรื่องนี้มีบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก เมื่อนายนิรยบาลนำสัตว์นรกไปพบกับพยายม
พยายมจะสักถามดังนี้
พยายม : ‘ ท่านไม่ได้เห็นเทวทูตที่ 1 ปรากฏในมนุษย์หรือ?
ถ้าผู้นั้นตอบว่า : ‘ไม่เห็นเลย’ พยายมก็จะถามต่อไปว่า
พยายม : ‘ ท่านไม่เคยเห็นเด็กทารกเกิดมาบ้างหรือ’
ถ้าตอบว่าเคยเห็น พยายมจะถามต่อไปว่า
พยายม : ‘ พอเห็นอย่างนั้นแล้วเคยคิดบ้างไหม แม้เราก็มีความเกิดเป็นธรรมดา
ไม่ล่วงพ้นความเกิดไปได้’
แต่เนื่องจากสัตว์นรกนั้นไม่เคยคิดมาก่อน ก็เลยตอบไปว่า ‘ ไม่เคยคิดเลย’
พยายมก็จะถามต่อไปว่า
แล้วเคยเห็นเทวทูตที่ 2 คนชราหลังค่อม
ถือไม้เท้าเดิน งกๆ เงิ่นๆ นั่นนะ ท่านเคยเห็นบ้างไหม’
สัตว์ก็จะตอบว่า ‘เคยเห็นเจ้าคะ ‘
พยายม: ‘เมื่อเห็นแล้วเคยได้สติมีความคิดที่จะทำความดีบ้างไหม ‘
สัตว์นรกก็บอกว่า ‘ไม่เคย ไม่เคยคิดเลยเพราะกำลังเพลิดเพลินอยู่ ‘
พยายมก็ให้โอกาสด้วยการถามปัญหาต่อไป
จุดประสงค์ของการถาม ก็เพียงเพื่อจะให้ผู้นั้นได้นึกถึงคุณงามความดี
ที่เคยทำไว้สมัยที่เป็นมนุษย์จะได้ไปสู่ภพภูมิที่ดี ๆ นั่นเอง
ท่านถามถึงเทวทูตที่ 3 ว่า
’แล้วเคยเห็นคนป่วยหนัก เวลาเดินต้องมีคนคอยพยุงบ้างไหม’
สัตว์นรกก็บอกว่า ’เคยเห็น’
เมื่อเห็นแล้วเคยคิดไหมว่า ตัวเรามีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา
ไม่ล่วงพ้นความเจ็บป่วยไปได้ ควรจะรีบทำความดี ด้วย กาย วาจา และใจ
สัตว์นรกก็บอกว่า ’เรื่องนี้ ไม่ได้ฉุกคิดเลย เพราะข้าพเจ้ามัวประมาทอยู่’
ถ้าอย่างนั้น
’เคยเห็นเทวทูตที่ 4 คือนักโทษที่ถูกเจ้าหน้าที่บ้านเมืองจับตัวมาลงโทษ
ให้ได้รับความเจ็บป่วยทุกทรมานบ้างไหม’
เขาก็บอกว่า’เคยเห็นเจ้าคะ’
พอเห็นแล้วได้สติคิดว่า แม้ถ้าเราทำความชั่วเช่นนี้คงจะต้องถูกลงโทษ
อย่ากระนั้นเลย เราพึงทำความดี จะได้ไม่ถูกลงโทษ เคยคิดอย่างนี้บ้างไหม?
สัตว์นรกก็ตอบว่าไม่เคยคิดเลย
พยายมราชจะถามถึงเทวทูตที่ 5 ว่า …..
’ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ท่านไม่เคยเห็นคนที่ตายไปแล้ว สองสามวันก็ขึ้นอืด
เนื้อตัวเขียวช้ำมีน้ำเลือดน้ำเหลืองไหลแย้ม ในหมู่มนุษย์บ้างหรือ’
สัตว์นรกตอบว่า’เคยเห็น’
เมื่อเห็นแล้วเคยคิดบ้างไหมว่า ’แม้ตัวเราก็มีความตายเป็นธรรมดา
ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ควรที่เราจะรีบทำความดี
เก็บเกี่ยวบุญกุศลก่อนที่จะหลับตาลาโลก’
ถ้าสัตว์นั้นคิดถึงคุณงามความดีของตัวเองได้ ก็จะได้ไปเสวยสุขในสุขติภูมิตามกำลังบุญ
ถ้ายังนึกไม่ได้ พยายมก็จะกล่าวว่า
’ท่านไม่เคยทำความดีอะไรเอาไว้เลยมัวประมาทอยู่ ทำความชั่วเป็นอาจินต์
พวกนายนิรยบาลจะลงโทษท่าน’
บาปกรรมนี้ มารดา บิดาไม่ได้ทำให้ท่าน ญาติพี่น้องก็ไม่ได้ทำให้ท่าน
ไม่มีใครในโลกทำให้ท่าน ท่านนั่นแหล่ะเป็นคนทำเอง
ท่านก็จะได้เสวยวิบากกรรมด้วยตนเอง
พอพยายมราชไต่สวนจบ ก็จะนั่งนิ่งทีเดียวเพราะรู้ว่าช่วยอะไรไม่ได้แล้ว
พวกนายนิรยบาลก็จะนำสัตว์นรกนั้น ไปรับกรรม เอาตะปูเหล็กที่ลุกเป็นไฟตอกที่มือ
เท้าทั้ง 4 และที่กลางอก สัตว์นรกนั้นต้องเสวยทุกขเวทนาไปจนกว่ากรรมนั้นจะสิ้นลง
บางตนก็ถูกจับขึงผืด แล้วก็เอาขวานผ่า เอามีดคมกริบ แหล่เนื้อเถือหนัง
จับห้อยหัวลงแล้วเอาพร้าที่ทั้งร้อนทั้งคมมาถาก จากนั้นก็จับโยนเข้าไปในมหานรก
มหานรกมี 4 มุม 4 ประตู มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบเอาไว้ด้วยแผ่นเหล็ก
พื้นของนรกเป็นเหล็กลุกเป็นไฟ ความร้อนแรงแผ่ไปตลอด 100 โยชน์
มีแต่ไฟลุกท่วมอยู่ตลอดเวลา ถ้าเอาก้อนหินก้อนใหญ่เท่าบ้านหลังโต ๆ
โยนเข้าไปในไฟนรกชั่วพริบตา หินก้อนนั้นก็จะแหลกละเอียดเป็นจุนทันที
แต่ที่สัตว์นรกทนอยู่ได้ก็เพราะแรงกรรมที่ทำเอาไว้
ทำให้ต้องทุกข์ทรมานซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ส่วนทุกข์ในนรกขุมอื่น ๆที่ทุกกว่านี้ยังมีอีกมากมาย
ก่ายกองทีเดียว นี้เป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อยเท่านั้น
ดังนั้นเมื่อเรามีโอกาสสั่งสมบุญในภาวะเป็นมนุษย์นี้แล้ว
ก็ควรรีบขวนขวายสร้างความดี สร้างบุญบารมีให้เต็มที่
เราควรจะใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดก่อนที่จะละจากโลกนี้ไป
ให้ตั้งมโนปณิธานเลยว่า ’ต่อจากนี้ไป กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต
ให้ติดเป็นอุปนิสัย เป็นอัธยาศัยที่ดี ติดแน่นอยู่ในใจ
แล้วก็มั่นพิจารณาถึงเทวทูตทั้ง 5 เสมอ เพื่อเตือนสติเรา
ไม่ให้ประมาทในชีวิต มุ่งสั่งสมบุญ แผ่วถางทางไปสวรรค์นิพพาน
ชีวิตจะได้ดำรงอยู่อย่างปลอดภัย และมีชัยชนะ’
ดังนั้นมั่นสั่งสมบุญกันเป็นประจำเรื่อยๆ บุญจะได้ไม่ตกหล่น
และให้ขยันนั่งธรรมะกันทุกๆ วัน อย่าประมาทในการฝึกฝนใจให้หยุดนิ่ง
นึกไปจนกว่าจะเข้าถึงพระธรรมกายซึ่งเป็นที่พึ่งอันเป็นที่ระลึกอันแท้จริง
ท่านมีโอกาสที่จะได้ตักตวงบุญมากมายสุดประมาณ
“บุญเท่านั้นจะเป็นที่พึ่งสำหรับเรา”
“การให้ เป็นการสร้างความดีที่ง่ายที่สุด
แต่ส่งผลดีให้แก่ชีวิตของเรามากมายสุดจะพรรณนา”
พวกท่านทั้งหลายรู้จัก เทวทูตทั้ง 4 หรือไม่ ถ้าอยากรู้จักโปรดติดตามอ่านได้ตั้งแต่นี้ไป
เรื่องมีอยู่ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในเทวทูตสูตรว่า
“นรชนเหล่านั้นเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ถูกเทวทูตตักเตือนแล้วยังประมาทมัวเมาในชีวิตอยู่
่
นรชนเหล่านั้นจะเข้าถึงอบายภูมิ เศร้าโศกสิ้นกาลนาน ส่วนนักปราชญ์บัญฑิตถูกเทวทูต
ตักเตือนแล้ว ก็ไม่ประมาทในธรรมของพระอริยะเจ้า เห็นโทษไปในความยึดมั่นถือมั่น
อันเป็นเหตุให้เกิดชาติและมรณะ แล้วไม่ถือมั่นในกรรมเหล่านั้น ย่อมล่วงพ้นความทุกข์
เข้าถึงความสุขอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และ ความตายที่เราเห็นกันอยู่เป็นประจำ
พระองค์ตรัสเรียกว่า เทวทูต ที่จะเตือนใจให้เราไม่ประมาทในชีวิต”
ความเกิดนั้นมาพร้อมๆกับความแก่ แล้วค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปตามวัย ตั้งแต่ วัยเด็ก
วัยหนุ่มสาว วัยกลางคน จนกระทั่งวัยชรา เมื่อชีวิตเข้าสู่ความแก่ชราสังขารก็ร่วงโรย
ไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างบารมี ลุกนั่งก็ไม่สะดวก โรคภัยไข้เจ็บเข้ามาเบียดเบียน หรือ
บางครั้งทรัพย์สมบัติของเราที่หามาได้ด้วยความยากลำบากตลอดชีวิตก็ค่อย ๆ หมดไปกับ
การรักษาสังขารร่างกาย เพื่อให้กายนี้ได้คงอยู่ต่อไป พอถึงความเจ็บป่วยรุมเร้าหนักเข้า
ก็ไม่มีใครที่จะมาแบ่งเบาความทุกข์นี้ได้ โดยเฉพาะเมื่อพญามัจจุราชมาเยือน ก่อนหลับตาลาโลกนั้นไม่มีใครที่จะมาช่วยเราได้เลย เราต้องช่วยเหลือตัวเอง ความดี และบุญกุศลที่เราทำไว้นี้จะเป็นที่พึ่งให้เราในยามนั้น ดังนั้นความทุกข์ต่างๆที่มีมาตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น