เป็นเพลงที่มีเนื้อความสั้น ๆ ร้องง่าย ชาวบ้านในอดีตมักร้องกันได้ เนื่องจากได้ยินได้ฟังมาตั้งแต่เกิด คือได้ฟังพ่อแม่ร้องกล่อมตนเอง น้อง หลาน ฯลฯ เมื่อมีลูกก็มักร้องกล่อมลูก จึงเป็นเพลงที่ร้องกันได้เป็นส่วนมาก เราจึงพบว่าเพลงกล่อมเด็กมีอยู่ทุกภูมิภาคของไทย และเป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูเด็กในสังคมไทย ซึ่งหากศึกษาจะพบว่า
1.เพลงกล่อมเด็กมีหน้าที่กล่อมให้เด็กหลับโดยตรง ดังนั้นจึงเป็นเพลงที่มีทำนองฟังสบาย แสดงความรักใคร่ห่วงใยของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็ก
2.เพลงกล่อมเด็กมีหน้าที่แอบแฝงหลายประการ อาทิ
-การสอนภาษา เพื่อให้เด็กออกเสียงต่าง ๆ ได้โดยการหัดเลียนเสียง และออกเสียงต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น
-ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ได้แก่ เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติ การดำเนินชีวิต การทำมาหากินของสังคมตนเอง การสร้างค่านิยมต่าง ๆ รวมทั้งการระบายอารมณ์และความในใจของผู้ร้อง
นอกจากนี้พบว่า ส่วนมากแล้วเพลงกล่อมเด็ก มักมีใจความแสดงถึงความรักใคร่ห่วงใยลูก ซึ่งความรักและความห่วงใยนี้ แสดงออกมาในรูปของการทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเก็บเด็กไว้ใกล้ตัว
บทเพลงกล่อมเด็กจึงเป็นบทเพลงที่แสดงอารมณ์ ความรักความผูกพันระหว่างแม่-ลูก ซึ่งแต่ละบทมักแสดงถึงความรักความอาทร ทะนุถนอม ที่แม่มีต่อลูกอย่างซาบนกเขาขัน นกเขาเอย ขันแต่เช้าไปจนเย็น ขันไปให้ดังแม่จะฟังเสียงเล่น เนื้อเย็นเจ้าคนเดียวเอย
กาเหว่า
กาเหว่าเอย ไข่ให้แม่กาฟัก แม่กาหลงรัก คิดว่าลูกในอุทร
คาบข้าวมาเผื่อ คาบเหยื่อมาป้อน ปีกหางเจ้ายังอ่อน สอนร่อนสอนบิน
แม่กาพาไปกิน ที่ปากน้ำแม่คงคา ตีนเหยียบสาหร่าย ปากก็ไซ้หาปลา
กินกุ้งกินกั้ง กินหอยกระพังแมงดา กินแล้วบินมา จับต้นหว้าโพธิทอง
นายพรานเห็นเข้า เยี่ยมเยี่ยมมองมอง ยกปืนขึ้นส่อง หมายจ้องแม่กาดำ
ตัวหนึ่งว่าจะต้ม ตัวหนึ่งว่าจะยำ แม่กาตาดำ แสนระกำใจเอย
วัดโบสถ์
วัดเอ๋ยวัดโบสถ์ มีต้นข้าวโพดสาลี
ลูกเขยตกยาก แม่ยายก็พรากเอาตัวหนี
ข้าวโพดสาลี ต่อแต่นี้จะโรยรา
นอนไปเถิด
นอนไปเถิดแม่จะกล่อม นวลละม่อมแม่จะไกว
ทองคำแม่อย่าร่ำไห้ สายสุดใจเจ้าแม่เอย
เจ้าเนื้อละมุน
เจ้าเนื้อละมุนเอย เจ้าเนื้ออุ่นเหมือนสำลี
แม่มิให้ผู้ใดต้อง เนื้อเจ้าจะหมองศรี
ทองดีเจ้าคนเดียวเอย
เจ้าเนื้ออ่อน
เจ้าเนื้ออ่อนเอย อ้อนแม่จะกินนม
แม่จะอุ้มเจ้าออกชม กินนมแล้วนอนเปลเอย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น