5/8/52

องค์ประกอบของนิติกรรม

นิติกรรมสามารถแยกองค์ประกอบได้เป็น

1.องค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญ ได้แก่


---บุคคล นิติกรรมจะเกิดขึ้นได้ต้องมีบุคคลในการทำนิติกรรม ซึ่งบุคคลที่จะทำนิติกรรมนั้นต้องมีความรู้สำนึกในสิ่งที่ตนกระทำ และมีความสามารถในการทำนิติกรรมต่างๆ ได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ


---วัตถุประสงค์ การทำนิติกรรมย่อมมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเคลื่อนไหวทางกฎหมายในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือ ระงับซึ่งสิทธิ (ป.พ.พ. ม.149)และวัตถุประสงค์ที่จะกระทำต้องไม่เป็นการพ้นวิสัยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (ป.พ.พ. ม.150)


---แบบ ในการทำนิติกรรมต้องกระทำด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะมีกฎหมายบังคับให้ทำ หรือเป็นวิธีการที่เกิดจากความสมัครใจของผู้ทำนิติกรรมก็ตาม ซึ่งแบบของนิติกรรมตามที่กฎหมายบังคับไว้แบ่งเป็น 5 ชนิด ดังนี้ 1.ส่งมอบทรัพย์ 2.ทำเป้นหนังสือ 3.จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน 4.ทำเป็นหนังสือหรือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ 5.แบบพิเศษ


---เจตนา การทำนิติกรรมจะต้องเกิดจากเจตนาของผู้ทำนิติกรรม ที่สมัครใจให้เกิดผลทางกฎหมาย เจตนาถือเป็นองค์ประกอบภายใน แยกออกได้ 3ประการ คือ 1.เจตนาที่จะกระทำ หมายถึง เจตนาที่มุ่งถึงความประพฤติภายนอกของบุคคล ที่จะเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อให้บุคคลอื่นทราบถึงเจตนาที่ประสงค์จะแสดง 2.เจตนาที่จะแสดงออก หมายถึง ความรู้สึกภายในของผู้แสดงเจตนา และเจตนาที่จะแสดงออกนี้ย่อมมีอยุ่ เมื่อข้อความหรือการกระทำถูกต้องตรงกับเจตนาภายในจิตใจของบุคคล 3.เจตนาที่จะแสดงนิติกรรม หมายถึง เจตนาอันมุ่งโดยตรงเพื่อจะให้เกิดผลในกฎหมาย..

2.องค์ประกอบเสริม ได้แก่

---เงื่อนไข คือการนำเอาเหตุการณ์ที่ไม่มีความแน่นอนในอนาคต มากำหนดเกี่ยวกับความเป็นผลหรือการสิ้นผลของนิติกรรม
---เงื่อนเวลา คือการนำเอาเวลาอันเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่แน่นอน มากำหนดเกี่ยวกับความเป็นผลหรือสิ้นผลของนิติกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น