30/4/53

แผ่นดินไหว

ริกเตอร์ (Richter magnitude scale) คือ มาตราที่ใช้กำหนดความรุนแรงของแผ่นดินไหว ซึ่งมาตราริคเตอร์ไม่มีขีดจำกัดว่ามีค่าสูงสุดเท่าใด แต่โดยทั่วไปกำหนดไว้ในช่วง 0-9 มาตรานี้ถูกนำเสนอให้ใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1935 โดย 2 นักวิทยาศาสตร์แผ่นดินไหว คือ เบโน กูเทนเบิร์ก และชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์




ทำไม? แผ่นดินไหวต้องวัดค่าริกเตอร์


มาตราริกเตอร์


ค่าริกเตอร์
ผลกระทบ

1.0-2.9
รู้สึกถึงความสั่นสะเทือนเล็กน้อย บางคนอาจจะมีอาการวิงเวียน ศีรษะได้

3.0-3.9
รู้สึกถึงความสั่นสะเทือน บางครั้งอาจจะสร้างความเสียหายได้บ้าง และยิ่งอยู่ในอาคารจะยิ่งรับรู้ถึงความสั่นสะเทือนได้เป็นอย่างดี

4.0-4.9
คนที่อยู่ในและนอกอาคารสามารถรับรู้ถึงความสั่นสะเทือนในระดับปานกลาง และวัตถุต่างๆ สามารถแกว่งไหวจนสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน

5.0-5.9
อยู่ในระดับที่เริ่มรุนแรง วัตถุมีการเคลื่อนที่ สามารถสร้างความเสียหายให้กับสิ่งก่อสร้างที่ไม่มั่งคงได้

6.0-6.9
ความสั่นสะเทือนอยู่ในระดับที่รุนแรง สิ่งก่อสร้างเริ่มพังทลาย และสามารถสร้างความเสียหายได้ในรัศมีประมาณ 80 กิโลเมตร

7.0-7.9
ในระดับนี้ถือว่ารุนแรงมาก ทำให้แผ่นดินแยก วัตถุที่อยู่บนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็นได้ และสามารถสร้างความเสียหายในบริเวณกว้าง

8.0-8.9
สามารถสร้างความเสียหายได้ในรัศมีร้อยกิโลเมตร

9.0-9.9
สามารถทำลายทุกสิ่ง ทุกอย่างในรัศมีพันกิโลเมตร

10.0 ขึ้นไป
ยังไม่เคยเกิดขึ้น จึงทำให่ยังไม่มีการบันทึกความเสียหายไว้




ทำไม? แผ่นดินไหวต้องวัดค่าริกเตอร์


วิธีป้องกันเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

ตั้งสติให้ได้ อย่าตื่นตกใจ
ถ้าอยู่ในบ้าน ควรไปยืนอยู่ในโครงสร้างที่แข็งแรงที่สุดของบ้าน
ถ้าอยู่นอกบ้าน ก็ควรห่างไกลจากเสาไฟฟ้า หรือสิ่งห้อยแขวนต่างๆ ที่อาจตกลงมาใส่เราได้
ห้าม!! ใช้เทียนไข ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวไฟ เพราะบริเวณนั้นอาจมีแก๊สรั่วอยู่ และเมื่อมาเจอกับเปลวไฟที่จุดไว้ก็จะทำให้เกิดไฟไหม้ได้
ถ้าขับรถอยู่แล้วเกิดแผ่นดินไหว ก็ขอให้หยุดรถ และอยู่ในรถจนกว่าความสั่นสะเทือนจะหยุดลง
ห้าม!! ใช้ลิฟต์ในขณะเกิดแผ่นดินไหวเด็ดขาด
ถ้าอยู่ใกล้ชายทะเล ควรที่จะรีบออกห่างจากฝั่งทันที เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่งได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น