20/1/53

เวนิสวาณิช

เวนิสวาณิช (อังกฤษ: The Merchant of Venice) เป็นบทละครของวิลเลียม เชกสเปียร์ ซึ่งเชื่อว่าแต่งขึ้นในราวปี ค.ศ. 1596-1598 จัดอยู่ในประเภทละครชวนหัว แต่ต่อมาก็ได้รับการยอมรับให้เป็นวรรณกรรมโรแมนติกในบรรดาผลงานของเช็คสเปียร์ทั้งหมด เนื่องจากมีฉากรักที่โดดเด่นมาก และความโด่งดังของตัวละคร ไชล็อก

The Merchant of Venice ได้แปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์แปลเป็นกลอนบทละครในปี พ.ศ. 2459 นอกจากนี้ยังมี เวนิสวาณิช ฉบับการ์ตูน เรียบเรียงโดย ชลลดา ชะบางบอน[1]

บทที่มีชื่อเสียงในเรื่องนี้ก็คือ

The quality of mercy is not strain'd,
It droppeth as the gentle rain from heaven

พระราชนิพนธ์แปลความว่า

อันว่าความกรุณาปรานี จะมีใครบังคับก็หาไม่
หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน

และอีกบทหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก คือ

Tell me where is fancy bred,
Or in the heart, or in the head?
How begot, how nourished?
Reply, reply.
It is engender'd in the eyes,
With gazing fed; and fancy dies
In the cradle where it lies.
Let us all ring fancy's knell
I'll begin it,--Ding, dong, bell

พระราชนิพนธ์แปลความว่า

ความเอยความรัก เริ่มสมัครชั้นต้น ณ หนไหน
เริ่มเพาะเหมาะกลางหว่างหัวใจ หรือเริ่มในสมองตรองจงดี
แรกจะเกิดเป็นไฉนใครรู้บ้าง อย่าอำพรางตอบสำนวนให้ควรที่
ใครถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงรตี ผู้ใดมีคำตอบขอบใจเอย


ตอบเอยตอบถ้อย เกิดเมื่อเห็นน้องน้อยอย่าสงสัย
ตาประสบตารักสมัครไซร้ เหมือนหนึ่งให้อาหารสำราญครัน
แต่ถ้าแม้สายใจไม่สมัคร เหมือนฆ่ารักเสียแต่เกิดย่อมอาสัญ,
ได้แต่ชวนเพื่อนยามาพร้อมกัน ร้องรำพันสงสารรักหนักหนาเอย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น