27/12/53
เค้ก
เค้ก (อังกฤษ: cake) เป็นอาหารชนิดหนึ่งที่มักจะมีลักษณะหวานและผ่านกระบวนการอบ ซึ่งจะทำมาจากแป้ง, น้ำตาล และส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ไข่, แป้งเปียก, ผัก, ผลไม้ที่ให้รสหวานหรือเปรี้ยว เป็นต้น หรือส่วนประกอบที่มีไขมัน เช่น เนย, ชีส, ยีสต์, นม, เนยเทียม เป็นต้น และนิยมรับประทานเป็นของหวาน และฉลองในเทศกาลต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันเกิดและวันแต่งงาน ซึ่งในโลกมีตำรับหรือสูตรการทำเค้กเป็นจำนวนล้านๆ สูตร อีกทั้งตำรับการทำเค้กบางแห่งก็มีการสืบทอดการทำและสูตรตำรับเป็นอายุมากมายหลายศตวรรษ ซึ่งขั้นตอนการทำเค้กนั้นก็ไม่ได้ยุ่งยากมากมาย
เค้กปอนด์ หมายถึง เค้กที่ทำจากแป้งหนึ่งปอนด์ น้ำตาลหนึ่งปอนด์และ เนยหนึ่งปอนด์
วิธีเลือก กางเกงยีนส์
1. เลือกซื้อไซส์เล็กกว่าขนาดจริง 1 เบอร์ อย่าเพิ่งคิดว่าจะฟิตเกินไป เพราะเมื่อใส่ไปสักพัก เนื้อผ้าจะขยายออก 10%
2. ถ้าเจอตัวที่ถูกใจซื้อไว้เลย 2 ตัว ตัวแรกตัดให้พอดีข้อเท้า ไว้ใส่กับรองเท้าส้นแบน อีกตัวทิ้งความยาวปลายขาไว้ เพื่อใส่กับรองเท้าส้นสูง
3. เลือกกางเกงยีนส์แบบซิป เพราะใส่ง่ายและแนบกับสรีระมากกว่าแบบกระดุม
4. อย่าลืมเอาเข็มขัดไปด้วย เพื่อลองกางเกงพร้อมกับเข็มขัด จะได้รู้ว่าใส่พอดีและเข้ากันดีหรือไม่
5. นำไปซักก่อนการแก้ไขใดๆ เพราะหลังจากการซักกางเกงยีนส์อาจหดตัว ทำให้ขนาดเปลี่ยนไป
6. รักษาตะเข็บที่ปลายขาไว้ การตัดขากางเกงแบบต่อปลายตะเข็บเดิม อาจแพงกว่า แต่ก็ช่วยให้กางเกงตัวเก่งของคุณสวยสมบูรณ์แบบ
7. ซักด้วยน้ำเย็นทุกครั้ง เพราะน้ำอุ่นจะทำให้กางเกงยีนส์หดตัว อย่าลืมกลับด้านก่อนซักเพื่อป้องกันสีซีดจาง
8. หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม เพราะสารเคมีอาจทำลายสีของกางเกงให้ซีดจาง
9. อย่ารีดด้วยความร้อนสูง เพราะความร้อนอาจทำให้เนื้อผ้าหดตัว
10. ซักแห้งดีที่สุด เพราะช่วยให้สีของกางเกงยีนส์ยังคงเดิมอยู่เสมอ (โดยเฉพาะสีเข้ม)
2. ถ้าเจอตัวที่ถูกใจซื้อไว้เลย 2 ตัว ตัวแรกตัดให้พอดีข้อเท้า ไว้ใส่กับรองเท้าส้นแบน อีกตัวทิ้งความยาวปลายขาไว้ เพื่อใส่กับรองเท้าส้นสูง
3. เลือกกางเกงยีนส์แบบซิป เพราะใส่ง่ายและแนบกับสรีระมากกว่าแบบกระดุม
4. อย่าลืมเอาเข็มขัดไปด้วย เพื่อลองกางเกงพร้อมกับเข็มขัด จะได้รู้ว่าใส่พอดีและเข้ากันดีหรือไม่
5. นำไปซักก่อนการแก้ไขใดๆ เพราะหลังจากการซักกางเกงยีนส์อาจหดตัว ทำให้ขนาดเปลี่ยนไป
6. รักษาตะเข็บที่ปลายขาไว้ การตัดขากางเกงแบบต่อปลายตะเข็บเดิม อาจแพงกว่า แต่ก็ช่วยให้กางเกงตัวเก่งของคุณสวยสมบูรณ์แบบ
7. ซักด้วยน้ำเย็นทุกครั้ง เพราะน้ำอุ่นจะทำให้กางเกงยีนส์หดตัว อย่าลืมกลับด้านก่อนซักเพื่อป้องกันสีซีดจาง
8. หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม เพราะสารเคมีอาจทำลายสีของกางเกงให้ซีดจาง
9. อย่ารีดด้วยความร้อนสูง เพราะความร้อนอาจทำให้เนื้อผ้าหดตัว
10. ซักแห้งดีที่สุด เพราะช่วยให้สีของกางเกงยีนส์ยังคงเดิมอยู่เสมอ (โดยเฉพาะสีเข้ม)
15/12/53
นํ้าหอม
เราเชื่อกันว่านํ้าหอมนั้นเกิดขึ้นมานานแล้ว จากหลักฐานภาพวาดจิตรกรรม ฝาผนังตอนหนึ่งที่วิหารของพระราชินี Hatshepsut ที่เมือง Thebes ในประเทศ Egypt ที่เป็นรูปของหญิงสาวชาวอิยิปต์โบราณกำลังชโลมนํ้าหอมลงบนศรีษะ ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่ามีการใช้นํ้าหอมกันแล้วในยุคนั้น ซึ่งคาดว่านักเดินเรือชาวอิยิปต์ได้ไปนำมาจากดินแดนอื่น นํ้าหอมในสมัยโบราณนั้นจะทำมาจากยางไม้หอม ซึ่งยางไม้หอมแบบนี้จะมีอยู่ที่ Arabia และ Somalia เท่านั้น คำว่า "Perfume" นี้มีรากศัพท์มาจากภาษา ละติน ที่แปลว่า "ควัน"
ในกรีก (Greek) โบราณคนที่ทำนํ้าหอมนั้นจะเป็นผู้หญิง ซึ่งได้ปรับปรุงมรดกการทำนํ้าหอมที่ตกถอดมาจากชาวอียิปต์โบราณให้พัฒนาดีขึ้นไป
ในช่วงเวลาของจักรวรรดิโรมัน (Roman) การทำนํ้าหอมเขาจะใช้ยางไม้หอมจากต้นไม้จำพวก Boswellia โดยสั่งนำเข้ามาจาก Arabia และได้บวกกับส่วนผสมที่ได้มาจากทะเลจากประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นส่วนผสมใหมที่ใส่ลงไป ในการทำนํ้าหอม ของชาวโรมันในสมัยนั้น เศรษฐีชาวโรมันจะใช้นํ้าหอมตามความพอใจ ชนิดที่เรียกได้ว่าใช้แบบล้างผลาญเลยก็ว่าได้ นั่นก็คือ พวกเศรษฐีเหล่านี้จะเอานํ้าหอมไปพ่น และฉีดตามพื้นและกำแพงบ้านของตัวเอง และนอกจากนี้ยังนำนํ้าหอมไปฉีดให้กับสัตว์เลี้ยงของบรรดาเศรษฐีอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น สุนัข และ ม้า
แต่ก้าวสำคัญในประวัติศาสตร์ของนํ้าหอมแล้วนั้นจะเกิดขึ้นในยุคกลาง (Middle ages) เมื่อชาวอาหรับ (Arabs) ได้คิดค้นพัฒนาเทคนิคในการกลั่นนํ้าหอมได้เป็นผลสำเร็จ
พื้นที่ขนาดใหญ่โตของอาณาจักรเปอร์เซีย ได้ทำการปลูกดอกกุหลาบ เพื่อที่จะนำมาสกัดเป็นนํ้าหอม เนื้อที่ที่ใช้ปลูกดอกกุหลาบนี้ใหญ่โตมหาศาลมาก จนถึงกับมีเรื่องเล่าขานกันว่า "กรุง Baghdad" (เมืองหลวงของประเทศอิรักในปัจจุบัน) ในสมัยนั้นได้สมญานามที่เรียกขานกันว่า "City of Fragrances"
นอกจากนี้ชาวอาหรับยังได้ค้นพบส่วนผสมตัวใหม่ในการทำนํ้าหอมอีกด้วย นั่นก็คือ สารที่ได้จากตัวชะมด หรือ กลิ่นชะมดนั่นเอง ชาวอาหรับได้นำเจ้ากลิ่นชะมดนี้ไปผสมกับปูนขาว และพวกเขาก็นำปูนขาวที่ได้นี้ไปใช้สร้างสุเหร่า (Mosque) และพระราชวัง ซึ่งก็ทำให้ได้สุเหร่า และพระราชวังที่มีกลิ่นหอมไปทั่วทั้งเมือง และนี่คืออีกหนึ่งที่มาจากเรื่องเล่าถึงคำว่า "City of Fragrances" นั่นเอง
ในช่วงสมัยของ Crusaders ได้นำเครื่องหอมจากอาหรับไปให้ชาวยุโรปได้รู้จัก แต่สำหรับก้าวแรกของนํ้าหอม ในยุโรปนั้นเริ่มจริง ๆ ก็ในศตวรรษที่ 16 เมื่อ แคทเธอรีน เดอ เมคิชี่ (Catherine de Medici) มาที่ประเทศ Italy เพื่อที่จะแต่งงานกับอนาคตกษัตริย์ในช่วงนั้น
จากนี้ไปนํ้าหอม ก็พัฒนาไปเรื่อยๆ จนกระทั่งในต้นศตวรรษที่ 19 ได้มีนักเคมีได้ทำการสังเคราะห์นํ้าหอมจาก สารเคมีจนได้กลิ่นต่าง ๆ มากมายหลายพันกลิ่น จนกระทั่งนํ้าหอมได้กระจายไปทั่ว จนเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
ในกรีก (Greek) โบราณคนที่ทำนํ้าหอมนั้นจะเป็นผู้หญิง ซึ่งได้ปรับปรุงมรดกการทำนํ้าหอมที่ตกถอดมาจากชาวอียิปต์โบราณให้พัฒนาดีขึ้นไป
ในช่วงเวลาของจักรวรรดิโรมัน (Roman) การทำนํ้าหอมเขาจะใช้ยางไม้หอมจากต้นไม้จำพวก Boswellia โดยสั่งนำเข้ามาจาก Arabia และได้บวกกับส่วนผสมที่ได้มาจากทะเลจากประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นส่วนผสมใหมที่ใส่ลงไป ในการทำนํ้าหอม ของชาวโรมันในสมัยนั้น เศรษฐีชาวโรมันจะใช้นํ้าหอมตามความพอใจ ชนิดที่เรียกได้ว่าใช้แบบล้างผลาญเลยก็ว่าได้ นั่นก็คือ พวกเศรษฐีเหล่านี้จะเอานํ้าหอมไปพ่น และฉีดตามพื้นและกำแพงบ้านของตัวเอง และนอกจากนี้ยังนำนํ้าหอมไปฉีดให้กับสัตว์เลี้ยงของบรรดาเศรษฐีอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น สุนัข และ ม้า
แต่ก้าวสำคัญในประวัติศาสตร์ของนํ้าหอมแล้วนั้นจะเกิดขึ้นในยุคกลาง (Middle ages) เมื่อชาวอาหรับ (Arabs) ได้คิดค้นพัฒนาเทคนิคในการกลั่นนํ้าหอมได้เป็นผลสำเร็จ
พื้นที่ขนาดใหญ่โตของอาณาจักรเปอร์เซีย ได้ทำการปลูกดอกกุหลาบ เพื่อที่จะนำมาสกัดเป็นนํ้าหอม เนื้อที่ที่ใช้ปลูกดอกกุหลาบนี้ใหญ่โตมหาศาลมาก จนถึงกับมีเรื่องเล่าขานกันว่า "กรุง Baghdad" (เมืองหลวงของประเทศอิรักในปัจจุบัน) ในสมัยนั้นได้สมญานามที่เรียกขานกันว่า "City of Fragrances"
นอกจากนี้ชาวอาหรับยังได้ค้นพบส่วนผสมตัวใหม่ในการทำนํ้าหอมอีกด้วย นั่นก็คือ สารที่ได้จากตัวชะมด หรือ กลิ่นชะมดนั่นเอง ชาวอาหรับได้นำเจ้ากลิ่นชะมดนี้ไปผสมกับปูนขาว และพวกเขาก็นำปูนขาวที่ได้นี้ไปใช้สร้างสุเหร่า (Mosque) และพระราชวัง ซึ่งก็ทำให้ได้สุเหร่า และพระราชวังที่มีกลิ่นหอมไปทั่วทั้งเมือง และนี่คืออีกหนึ่งที่มาจากเรื่องเล่าถึงคำว่า "City of Fragrances" นั่นเอง
ในช่วงสมัยของ Crusaders ได้นำเครื่องหอมจากอาหรับไปให้ชาวยุโรปได้รู้จัก แต่สำหรับก้าวแรกของนํ้าหอม ในยุโรปนั้นเริ่มจริง ๆ ก็ในศตวรรษที่ 16 เมื่อ แคทเธอรีน เดอ เมคิชี่ (Catherine de Medici) มาที่ประเทศ Italy เพื่อที่จะแต่งงานกับอนาคตกษัตริย์ในช่วงนั้น
จากนี้ไปนํ้าหอม ก็พัฒนาไปเรื่อยๆ จนกระทั่งในต้นศตวรรษที่ 19 ได้มีนักเคมีได้ทำการสังเคราะห์นํ้าหอมจาก สารเคมีจนได้กลิ่นต่าง ๆ มากมายหลายพันกลิ่น จนกระทั่งนํ้าหอมได้กระจายไปทั่ว จนเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)