จากบันทึกของคุณอนุชาติ อินทรพรหม
เมื่อราว ๕๐ ปีผ่านมาที่ลพบุรี สมัยที่บ้านเมืองยังไม่เจริญเช่นทุกวันนี้ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่ทำนาเลี้ยงชีวิต
ณ เชิงเขาสะพานนาค มีหมู่บ้านหมู่บ้านหนึ่งที่ท้ายหมู่บ้านมีกระต๊อบหลังคามุงแฝกหลังหนึ่ง เป็นที่อยู่อาศัยของ ๔ ชีวิต มีหญิงชราผู้เป็นแม่ ลูกชาย - ลูกสะใภ้ และหลานน้อย ลูกชายชื่อทองเป็นคนเจ้าอารมณ์ โมโหร้าย มุทะลุดุดัน ชอบเล่นการพนัน ติดสุรายาเสพติด วันๆการงานไม่ทำเอาแต่ดื่มสุราหาเล่นการพนัน แม่กับเมียจะลำบากอย่างไรก็ช่าง
ผู้เป็นเมียจึงออกไปทำไร่หาเลี้ยงครอบครัวทุกวันปล่อยให้แม่ผัวกับลูกน้อยเฝ้าบ้าน เหตุการณ์ดำเนินไปเช่นนี้เรื่อยมาจนกระทั่งวันหนึ่ง ย่ากับหลานอยู่ด้วยกันสองคน ย่าแก่แล้วจึงงกๆเงิ่นๆด้วยความชราตามหลานไม่ค่อยจะทัน หลานน้อยก็แสนซนคอยลักหนีไปเที่ยวอยู่เรื่อย
ตะวันบ่ายคล้อยผู้เป็นย่าจัดแจงเข้าครัวหุงหาอาหารไว้คอยลูก ย่ากำลังทำครัวเพลินหลานน้อยได้โอกาสหนีไปเล่นน้ำในโอ่งข้างล่าง น้ำมีเพียงครึ่งโอ่งหลานน้อนจอมซนจะตักน้ำมาเล่นแต่ตักไม่ถึงจึงปีนปากโอ่งพยายามตักน้ำให้ได้ บังเอิญพลาดหัวทิ่มลงไปในโองดิ้นขลุกขลักอยู่ จะขึ้นก็ไม่ได้ หายใจก็ไม่ออกทุรนทุราย ฝ่ายย่าอยู่ในครัวได้ยินเสียงหลานดิ้นจึงรีบออกมาดูเห็นแต่เท้าโผล่ออกมาจึงรีบคว้าหลานขึ้นจากโอ่ง อนิจจา....สายเกินไปเสียแล้วเด็กน้อยขาดใจตายเสียแล้ว
หญิงชราตกใจแทบสิ้นสติ ได้แต่กอดศพหลานร้องไห้คร่ำครวญปิ่มว่าจะขาดใจ เพื่อนบ้านเดินทางผ่านมาจึงแวะเข้าไปดูเห็นหญิงชรากอดศพหลานร้องไห้อยู่ สอบถามดูก็รู้สาเหตุจึงให้คนไปตามเอาลูกชายลูกสะใภ้ของหญิงชราให้กลับมาบ้าน
ที่วงการพนันเจ้าทองร่ำสุราได้ที่เข้าเล่นการพนันกำลังเสียอารมณ์ไม่ดี พอมีคนไปส่งข่าวว่าลูกชายตายจึงรีบกลับบ้านด้วยความเสียใจ มาถึงบ้านเห็นแม่กับเมียร้องไห้อยู่ข้างศพลูกชายท่ามกลางเพื่อนบ้าน เจ้าทองยิ่งเสียใจบวกด้วยความเมาและอารมณ์เสียจากพนันจึงเอะอะตึงตังตะคอกถามแม่ด้วยเสียงอันดังถึงสาเหตุที่ลูกของตนทำไมจึงตกน้ำตาย
ผู้เป็นแม่เห็นเจ้าทองเอะอะขึงขังเสียงดังก็ใจคอไม่ค่อยดี ปากคอสั่นจับต้นชนปลายไม่ถูก เพื่อนบ้านจึงเล่าให้ฟังแทน เมื่อรู้เรื่องแทนที่เจ้าทองจะระงับยับยั้งอารมณ์กลับมีโมโหโทสะเพิ่มขึ้น ชี้หน้าด่าแม่อย่างเดือดดาลว่าไม่ดูแลหลานให้ดี แม่ได้แต่ตกใจกลัวตัวสั่น
เจ้าทองลืมตัวขาดสติยับยั้งชั่งใจกระชากมีดเหน็บอยู่ข้างฝาบ้านตรงเข้าไปหมายจะฆ่าแม่ให้ตายด้วยความแค้น เพื่อนบ้านที่เห็นเหตุการณ์เห็นท่าไม่ดีจึงเข้าขัดขวางจับกุมไว้ พร้อมว่ากล่าวเตือนสติ แต่เจ้าทองหน้ามืดตาลายเสียแล้วออกแรงสะบัดดิ้นจนหลุดกระโจนเงื้อมีดเข้าหาแม่
หญิงชราเห็นท่าไม่ดีจึงออกวิ่งหนีจากบ้าน ไอ้ลูกเนรคุณยังไม่ลดละไล่กวดตามแม่ไปติดๆอย่างไม่ลดละ หญิงชราวิ่งกระเซอะกระเซิงหนีตาย ดีแต่เจ้าทองยังไม่สร่างเมาดีจึงวิ่งเปะปะตามแม่ไม่ค่อยจะทัน เพื่อนบ้านเห็นเหตุการณ์พยายามจะขัดขวางแต่ถูกเจ้าทองป่ายมีดวืดวาดเข้าใส่ ต่างก็กระเจิดกระเจิงออกไปทุกทิศ เจ้าทองออกตามแม่ไปอย่างกระชั้นชิด
หญิงชราเห็นท่าไม่ดีจึงหนีเข้าวัดหวังพึงคุณพระคุณเจ้าให้ช่วยด้วยเป็นเขตอภัยทาน เข้าไปหาสมภารที่กุฏิร่ำร้องให้ช่วยสงเคราะห์แก่สัตว์ผู้ตกยาก สมภารเข้าขวางหมายเตือนสติพยายามเทศนาสั่งสอนให้รู้จักชั่วดีว่า การฆ่าพ่อฆ่าแม่นั้นเป็นบาปมหันต์ พ่อแม่มีบุญคุณที่เลี้ยงเรามากว่าจะเติบโตแสนจะลำบาก แต่เจ้าทองหาได้เชื่อฟังไม่กลับตรงเข้าไปผลักท่านสมภารจนเซถลาตรงเข้าไปจะฆ่าแม่ที่แอบอยู่ข้างหลังอีก
หญิงชราอาศัยจังหวะที่เจ้าทองยังช้าอยู่วิ่งออกจากกุฎิหมายเข้าไปที่โบสถ์ปิดประตู เจ้าทองออกวิ่งตามไปติดๆหวุดหวิดจวนเจียน หญิงชราก้าวขาเข้าโบสถ์ เจ้าทองเงื้อมีดหมายจะฆ่า
ฟ้าดินก่อปาฏิหารย์สิ่งศักดิ์สิทธิ์เข้าข้างคนดีลงโทษคนชั่ว ฉับพลันพื้นดินที่เจ้าทองเหยียบอยู่พลันก็แยกออกจากกันเหมือนทานน้ำหนักคนชั่วไม่ไหว ลูกทรพีตกใจสุดขีดร่างร่วงลงไปในรอยแยกมีดหลุดจากมือสร่างเมาโดยฉับพลันแถมแผ่นดินนั้นกลับหนีบตัวเอาไว้ เจ้าทองพยายามดิ้นให้หลุดแต่ดินนั้นยังคงดูดเจ้าทองลงไปเรื่อยๆ ยิ่งดิ้นยิ่งดูดเจ้าทองตาสว่างได้คิดถึงบาป-บุญว่ามีจริง ตนเจอบาปกรรมตามทันจึงเกิดความกลัวแหกปากร้องเรียกให้คนช่วยเสียงดังลั่นสนั่นหวั่นไหวด้วยกลัวตาย
หญิงชราผู้เป็นแม่หนีเข้าโบสถ์ได้ก็ปิดประตูรอดตาย แต่ได้ยินเสียงร้องให้ช่วยของเจ้าทองก็แปลกใจแง้มประตูออกดู เห็นเจ้าทองถูกธรณีสูบก็ตกใจเข้าใจทุกอย่างทันที ด้วยสัญชาตญาณของความเป็นแม่เกิดความเป็นห่วงกลัวลูกจะตาย ลืมไปแล้วว่าเพิ่งถูกลูกทรพีคนนี้ไล่ฆ่าจนเอาชีวิตแทบไม่รอดมาหยกๆ ( นี่แหละหนอ ความรักของแม่ที่มีต่อลูก ) รีบเปิดประตูโบสถ์ถลาออกมาดูลูกทันที
เจ้าทองเห็นแม่ออกมาหา ถึงกับน้ำตาร่วงร้องไห้โฮด้วยสำนึกผิด กราบเท้าแม่สารภาพผิด หญิงชราคว้าแขนลูกชายหมายจะดึงให้พ้นจากพื้นดินที่ดูดแต่ก็หาได้ขยัยเขยื้อนไม่ ผู้เป็นแม่หมดปัญญาก็ไปขอร้องให้พระในวัดมาช่วย พอดีชาวบ้านตามมาทันนางก็ขอให้ช่วยลูกชั่วของตนให้พ้นภัย
ท่านสมภารให้ชาวบ้านทำขันธ์ ๕ ให้เจ้าทองขอขมาโทษแม่และฟ้าดินสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ได้กระทำชั่วล่วงเกินแม่ และขอให้แม่ธรณียกโทษให้ หญิงชราผู้เป็นแม่ยกโทษอโหสิกรรมให้ ชาวบ้านจึงช่วยกันฉุดเอาเจ้าทองขึ้นจากดิน แต่ไม่ว่าจะฉุดกระชากลากดึงอย่างไรก็หาขยับเขยื้อนไม่มีแต่จะจมลงๆ ชาวบ้านจึงเปลี่ยนมาเป็นขุดดินออก
แต่แปลกประหลาดอัศจรรย์เหมือนสวรรค์ลงโทษซ้ำ ดินนั้นกลับแข็งเหมือนเหล็กจนจอบเสียมที่ขุดกระเด็นดีดออกมาโดยไม่มีแม้แต่รอยขีดข่วน เหมือนว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่ยอมยกโทษให้
ในที่สุดก็จนปัญญาที่จะช่วยเจ้าทองได้แม่และเมียจึงได้นิมนต์ท่านสมภารให้เทศนาโปรดเจ้าทองเป็นครั้งสุดท้าย เจ้าลูกทรพีสำนึกผิดฟังเทศน์ด้วยอาการสงบน้ำตานองหน้า ร่างก็จมลงเรื่อยๆ เจ้าทองทุกข์ทรมานอยู่เป็นเวลา ๑ วัน ๑ คืน ก็สิ้นใจตายพร้อมกับร่างจมลงหมดแผ่นดินก็ปิดเหมือนเดิม ท่ามกลางความโศกเศร้าสังเวชใจของชาวบ้านที่พบเห็น
*-* เรื่องนี้คุณอนุชาติ อินทรพรหม บอกว่าได้รับฟังจากแม่และญาติผู้ใหญ่อีกที เหตุการณ์นี้คงเตือนสติท่านผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย *-*
18/2/53
ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmund Freud
โครงสร้างบุคลิกภาพ มีรายละเอียดดังนี้
1. อิด (Id) จะเป็นต้นกำเนิดของบุคลิกภาพ และเป็นส่วนที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด Id ประกอบด้วยแรงขับทางสัญชาตญาณ (Instinct) ที่กระตุ้นให้มนุษย์ตอบสนองความต้องการ ความสุข ความพอใจ ในขณะเดียวกันก็จะทำหน้าที่ลดความเครียดที่เกิดขึ้น การทำงานของ Id จึงเป็นไปตามหลักความพอใจ (Pleasure Principle) ที่ไม่คำนึงถึงความเหมาะสมตามความเป็นจริง จะเป็นไปในลักษณะของการใช้ความคิดในขั้นปฐมภูมิ (Primary Process of Thinking) เช่น เด็กหิวก็จะร้องไห้ทันที เพื่อตอบสนองความต้องการของเขา และส่วนใหญ่ที่อยู่ในระดับจิตไร้สำนึก
2. อีโก้ (Ego) จะเป็นส่วนของบุคลิกภาพที่ทำหน้าที่ประสาน อิด และ ซูเปอร์อีโก้ ให้แสดงบุคลิกภาพออกมาเพื่อให้เหมาะสมกับความเป็นจริง และขอบเขตที่สังคมกำหนดเป็นส่วนที่ทารกเริ่มรู้จักตนเองว่า ฉันเป็นใคร Egoขึ้นอยู่กับหลักแห่งความเป็นจริง(Reality Principle)ที่มีลักษณะของการใช้ความคิดในขั้นทุติยภูมิ (Secondary Process of Thinking) ซึ่งมีการใช้เหตุผล มีการใช้สติปัญญา และการรับรู้ที่เหมาะสม และอีโก้ (Ego) เป็นส่วนที่อยู่ในระดับจิตสำนึกเป็นส่วนใหญ่
3. ซูเปอร์อีโก้(Superego)นั้นเป็นส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมจรรยา บรรทัดฐานของสังคม ค่านิยม และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่ผลักดันให้บุคคลประเมินพฤติกรรมต่างๆ ทีเกี่ยวข้องกับมโนธรรม จริยธรรมที่พัฒนามาจากการอบรมเลี้ยงดู โดยเด็กจะรับเอาค่านิยม บรรทัดฐานทางศีลธรรมจรรยา และอุดมคติที่พ่อแม่สอนเข้ามาไว้ในตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่เด็กมีอายุประมาณ 3 – 5 ขวบ (ระยะ Oedipus Complex) และเด็กจะพัฒนาความรู้สึกเหล่านี้ไปตามวัย โดยมีสภาพแวดล้อมทางบุคคลเป็นองค์ประกอบสำคัญการทำงานของ Superego จะขึ้นอยู่กับหลักแห่งจริยธรรม (Moral Principle) ที่ห้ามควบคุม และจัดการไม่ให้ Id ได้รับการตอบสนองโดยไม่คำนึงถึงความผิดชอบชั่วดี โดยมี Ego เป็นตัวกลางที่ประสานการทำงานของแรงผลักดันจาก Id และ Superego
โดยทั่วไปแล้ว Superego จะเป็นเรื่องของการมีมโนธรรม (Conscience) ที่พัฒนามาจากการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ หรือผู้อบรมเลี้ยงดู ซึ่งเป็นค่านิยมที่พ่อแม่ถ่ายทอดให้ลูกว่าสิ่งใดดีควรประพฤติปฏิบัติหรือไม่อย่างไร ส่วนนี้จะทำให้บุคคลเกิดความรู้สึกผิด (Guilt Feeling) ที่จะติดตามรบกวนจิตใจของบุคคลเมื่อกระทำสิ่งใดที่ขัดต่อมโนธรรมของตนเองและส่วนที่ เรียกว่าอุดมคติแห่งตน (Ego-Ideal) ที่พัฒนามาจากการเอาแบบอย่าง (Identification) จากบุคคลที่เคารพรักเช่น พ่อแม่ ผู้อบรมเลี้ยงดู และคนใกล้ชิด ทำให้เด็กรับรู้ว่าทำสิ่งใดควรประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะได้รับการยอมรับและความชื่นชมยกย่องซึ่งทำให้เกิดความอิ่มเอิบใจ เมื่อได้ทำตามอุดมคติของตนบางส่วนของ Superego จะอยู่ในระดับจิตสำนึกและบางส่วนจะอยู่ในระดับจิตไร้สำนึก
พัฒนาการทางบุคลิกภาพ
ฟรอยด์ ได้อธิบายถึงการพัฒนาการทางบุคลิกภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการทางเพศ (Stage of Psychosexual Development) จากความเชื่อเกี่ยวกับสัญชาตญาณทางเพศในเด็กทารกที่แสดงออกมาในรูปพลังของ ลิบิโด (Libido) และสามารถเคลื่อนที่ไปยังส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายและบริเวณที่พลังลิบิโดไปรวมอยู่เรียกว่า ที่ของความรู้สึกพึงพอใจ (Erogeneous Zone) เมื่อพลังลิบิโดไปอยู่ในส่วนใดก็จะก่อให้เกิดความตึงเครียด (Tension) ขึ้นที่ส่วนนั้น วิธีการที่จะขจัดความตึงเครียด ได้ก็โดยการเร้าหรือกระตุ้นส่วนนั้นอย่างเหมาะสม เพื่อทำให้เกิดความพึงพอใจ (Gratification) บริเวณที่พลัง Libido เคลื่อนไปอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ หรือวัยต่างๆ ของบุคคล จะทำให้เกิดการพัฒนาการไปตามขั้นตอนของวัยนั้นๆ ซึ่งฟรอยด์ แบ่งการพัฒนาบุคลิกภาพออกเป็น 5 ขั้น ได้แก่
1. ขั้นปาก (Oral Stage) เริ่มตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ ในวัยนี้ Erogenous Zone จะอยู่บริเวณปาก การได้รับการกระตุ้น หรือเร้าที่ปากจะทำให้เด็กเกิดความพึงพอใจ ทำให้เด็กตอบสนองความพึงพอใจของตนเองโดยการดูด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูดนมแม่จึงเป็นความสุขและความพึงพอใจของเขาในขั้นนี้ ถ้าพ่อแม่หรือผู้ใกล้ชิดให้การอบรมเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม มีการดูแลเอาใจใส่ให้ความรักความอบอุ่นอย่างเต็มที่จะทำให้เด็ก เกิดความไว้วางใจและความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเองและสภาพแวดล้อม เนื่องจากเด็กวัยนี้เริ่มพัฒนาความรักตัวเอง (Narcissism) แต่ถ้าเด็กไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเหมาะสม เช่น ถูกปล่อยให้ร้องไห้เพราะหิวเป็นเวลานานๆ ไม่ได้รับประทานอาหารตามเวลาและไม่ได้รับการสัมผัสที่อบอุ่นหรือการแสดงความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่และผู้ใกล้ชิด จะทำให้เด็กพัฒนาความไม่ไว้วางใจ (Distrust) มีความรู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับตนเองและเกลียดชังสภาพแวดล้อม ทำให้เกิดการยึดติด (Fixatio) ของพัฒนาการในขั้นปาก พลัง Libido บางส่วนไม่ได้รับการเร้าอย่างเหมาะสม จะทำให้การยึดติดอยู่บริเวณปาก และไม่สามารถเคลื่อนที่ไปยังส่วนอื่นของร่างกายตามความเหมาะสมของการพัฒนาการในขั้นต่อไป ก่อให้เกิดความผิดปกติทางบุคลิกภาพในขั้นปาก และเมื่อบุคคลเข้าสู่วัยรุ่นบุคคลก็จะแสดงบุคลิกภาพที่ยึดติดในขั้นปากออกมาในรูปของพฤติกรรมต่างๆ เช่น การติดสุรา ติดบุหรี่ ยาเสพติด ชอบขบเคี้ยวไม่หยุดปาก ชอบกินของคบเคี้ยวกรอบๆ กินอาหารแปลกๆ เช่น กินกุ้งเต้น หือ ชอบพูดจาเยาะเย้ยถากถาง ก้าวร้าว บ้าอำนาจ พูดจาใส่ร้ายป้ายสีได้โดยขาดความละอาย และชอบทำตัวให้เป็นจุดเด่นในสังคมโดยวิธีการใช้ปากหรือเสียงดังๆ เป็นต้น
2. ขั้นทวาร (Anal Stage) เด็กจะมีอายุตั้งแต่ 1-3 ขวบ ในวัยนี้ Erogenous Zone จะอยู่ที่บริเวณทวาร โดยที่เด็กจะมีความพึงพอใจเมื่อมีสิ่งมากระตุ้น หรือเร้าบริเวณทวารในระยะนี้เด็กเริ่มเป็นตัวของตัวเอง เริ่มมีความพึงพอใจกับความสามารถในการควบคุมอวัยวะของตนเอง โดยเฉพาะอวัยวะขับถ่าย กิจกรรมที่เด็กมีความสุขจะเกี่ยวข้องกับการกลั้นอุจจาระ (Anal Retention) และการถ่ายอุจจาระ (Anal Expulsion) ความขัดแย้งที่มักเกิดขึ้นในขั้นนี้คือ การฝึกหัดการขับถ่าย (Toilet) Training ดังนั้น ถ้าพ่อแม่เลี้ยงดูด้วยความเอาใจใส่ และฝึกการขับถ่ายให้เป็นไปอย่างเหมาะสมกับเวลา และสถานที่โดยไม่บังคับ หรือเข้มงวดและวางระเบียบมากเกินไป เพราะไม่เช่นนั้น เด็กจะเกิดความรู้สึกไม่แน่ใจในความมีอิสระ และความสามารถในการบังคับอวัยวะของตนเอง ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่า พ่อแม่จะปล่อยทุกอย่างให้เป็นไปตามความพึงพอใจของเด็กโดยไม่สนใจให้การดูแลและฝึกหัดให้เด็กเรียนรู้การขับถ่ายที่เหมาะสม ก็จะทำให้เด็กติดตรึงอยู่กับความต้องการของตนเอง ไม่พัฒนาการยอมรับจากผู้อื่น จะเห็นได้ว่าปฏิกิริยา กฎเกณฑ์ และเจตคติของพ่อแม่ในการฝึกหัดการขับถ่ายของเด็ก จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลิกภาพที่เหมาะสมในขั้นทวารเพราะถ้าสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่กับเด็กเป็นอย่างดีโดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับการฝึกการขับถ่ายของเด็กจึงมีความสำคัญ ต่อการพัฒนาบุคลิกภาพที่เหมาะสมในขั้นทวาร เพราะถ้าสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่กับเด็กเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับการฝึกการขับถ่าย จะทำให้เด็กพัฒนาอารมณ์ที่มั่นคง เชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง เป็นคนสงบเสงี่ยมอ่อนโยน แต่ถ้าเด็กเกิดการติดตรึงในขั้นตอนนี้ จะทำให้ไม่สามารถพัฒนาบุคลิกภาพตามความเหมาะสม เช่น ถ้าเด็กพอใจกับการถ่ายอุจจาระมากเกินไป เมื่อโตขึ้นก็จะเป็นคนสุรุ่นสุร่าย แต่ถ้าเด็กพอใจกับการกลั้นอุจจาระไว้ไม่ยอมขับถ่าย ก็จะเป็นคนขี้เหนียว ตระหนี่ หรือถ้าเด็กรู้สึกโกรธหรือเกลียด พ่อแม่ที่เข้มงวดในเรื่องขับถ่ายก็จะทำให้เด็กมีนิสัยดื้อรั้น แต่ถ้าพ่อแม่ควบคุมเรื่องความสะอาดมากเกินไป ก็จะกลายเป็นเจ้าระเบียบ จู้จี้จุกจิก หรือถ้าพ่อแม่ที่เน้นการขับถ่ายตรงเวลา ไม่รู้จักยืดหยุ่นก็จะกลายเป็นคนเข้มงวด ไม่ยืดหยุ่น แต่ถ้ายึดติดในขั้นนี้เป็นไปอย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดเด็กมีบุคลิกภาพแปรปรวน เช่น ชอบทำร้ายให้ผู้อื่นเจ็บปวด (Sadism) หรือการร่วมเพศด้วยวิธีการต่าง ๆ เป็นต้น
3. ขั้นอวัยวะเพศตอนต้น (Phallic Stage) เริ่มตั้งแต่ 3 – 5 ขวบ ในขั้นนี้ Erogenous Zone จะอยู่ที่อวัยวะเพศ โดยที่เด็กเกิดความรู้สึกพึงพอใจกับการจับต้องอวัยวะเพศ เพราะมีความพึงพอใจทางเพศอยู่ที่ตนเองในระยะแรก ต่อมาในช่วง 4-5 ขวบ พลัง Libido บางส่วนจะเคลื่อนที่ออกจากตนเองไปรวมอยู่ที่พ่อแม่ ซึ่งเป็นเพศตรงข้ามกับเด็ก ทำให้เด็กชายรักใคร่ และหวงแหนแม่จึงเกิดความรู้สึกอิจฉา และเป็นปรปักษ์กับพ่อ ในขณะที่เด็กหญิงจะรักใคร่และหวงแหนพ่อ จึงรู้สึกอิจฉาและเป็นศัตรูกับแม่ ที่เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า เป็นปมออดิพปุส (Oedipus Complex) ในเด็กชาย และปมอีเลคต้า (Electra Complex) ในเด็กหญิง
ในขั้นนี้ นอกจากจะเกิด Oedipus Complex แล้วเด็กชายจะเกิดความวิตกกังวลกลัวว่าจะถูกตัดอวัยวะเพศ (Castration Anxiety) เพราะเด็กชายเริ่มมองเห็นความแตกต่างทางร่างกายของเพศชายและเพศหญิง ทำให้เด็กชายเกิด จินตนาการว่าเด็กหญิงก็มีองคชาต (Penis) แต่ถูกตัดไป จึงเกิดความกังวลไม่อยากให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับตนเอง ทำให้เริ่มเรียนรู้อำนาจของพ่อที่มีเหนือเขา ความรู้สึกเกลียดชัง และเป็น ปรปักษ์กับพ่อ เพราะต้องการแย่งชิงความรักจากแม่ค่อยๆ หมดไป หันมาเป็นมิตรและเลียนแบบ (Identification) พ่อจึงเอา (Introject) บทบาททางเพศชายของพ่อมาไว้ในตนเอง ทำให้ปรากฏการณ์ของ Oedipus Complex หายไป และเด็กจะเลียนแบบบทบาทที่เหมาะสมตามเพศของตนเอง
ในระยะนี้ Superego ของเด็กจะเริ่มพัฒนาจากการรับเอาค่านิยม คุณธรรมและบรรทัดฐานทางสังคมของพ่อแม่มาไว้ในตัว ในขณะที่เด็กหญิง นอกจากจะเกิด Electra Complex แล้ว เด็กหญิงจะเกิดความอิจฉาของ องคชาต (Penis Envy) ในเด็กชาย และรู้สึกต่ำต้อยที่ตนเองไม่มีองคชาตเหมือนเด็กชาย เมื่อเกิดปรากฏการณ์ Electra Complex แล้วเด็กหญิงจะรักใคร่และหวงแหนพ่อในที่เกลียดชังและรู้สึกว่าเป็นคู่แข่งกับแม่ และเห็นว่าพ่อไม่สามารถให้องคชาตแก่ตนได้ จึงเกิดความรู้สึกว่าแม่เป็นผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าตนเอง และแม่ไม่มีองคชาตเช่นกัน ทำให้รู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกับแม่ หันมาเลียนแบบแม่ ทำให้ปมอีเลคตร้าหมดไป ในขณะที่ส่วนของ Superego เริ่มพัฒนาขึ้น
ในขั้นนี้ ถ้าพัฒนาการทางบุคลิกภาพเป็นไปด้วยดี จะทำให้เด็กแสดงบทบาทที่เหมาะสมตามเพศของตนเอง เมื่อโตขึ้นและมีเจตคติที่ดีในเรื่องเพศ แต่ถ้าพัฒนาการเป็นไปอย่างไม่เหมาะสมแล้ว จะเกิดการติดตรึง ทำให้บุคลิกภาพผิดปกติไป เช่น ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว(Impotence)ในเพศชาย และมีความรู้สึกเย็นชาเกี่ยวกับเรื่องเพศ (Frigidity) ในเพศหญิง การรักร่วมเพศ (Homosexuality) หรือชอบอวดอวัยวะเพศ (Exhibitionism) เป็นต้น จะเห็นได้ว่า ขั้นอวัยวะเพศตอนต้น เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการพัฒนาบุคลิกภาพ พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูจะมีบทบาทสำคัญ ที่จะช่วยให้บทบาททางเพศของเด็กเป็นไปด้วยดี พ่อแม่จึงไม่ควรตำหนิหรือเข้มงวดกับเด็กมากเกินไป เมื่อเด็กจับต้องอวัยวะเพศของตน ในขณะเดียวกันเด็กควรได้รับชี้แจง และการสั่งสอนเรื่องเพศ ตามความเหมาะสมกับการอยากรู้อยากเห็นของเขา และพ่อแม่ควรทำให้เป็นแบบอย่างที่ดีในการแสดงบทบาททางเพศ ให้ความรัก ความอบอุ่น และความเอาใจใส่แก่เด็ก มีเวลาใกล้ชิดกับเด็ก ซึ่งทำให้เด็กเรียนรู้ถึงสัมพันธภาพที่ดีในการอยู่ร่วมกันระหว่างเพศเดียวกันและต่างเพศ การให้ข้อมูลทางเพศ ควรใช้เหตุผลและค่านิยมของสังคมที่เหมาะสมในการอธิบายเพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีในเรื่องเพศแก่เด็ก ทำให้เด็กยอมรับความรู้สึกของตนเองและสามารถแสดงความรู้สึกต่างๆ ออกมาได้เหมาะสม กับบทบาททางเพศ ตามบรรทัดฐานของสังคมต่อไป
4. ขั้นแฝง (Latency Stage) เริ่มตั้งแต่ อายุ 6 – 11 ปี ในขั้นนี้ Erogenous Zone จะไม่ปรากฏอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ เสมือนขั้นแฝงของพลัง Libido เป็นระยะพักในเรื่องเพศ และจินตนาการทางเพศ เด็กจะเริ่มมีชีวิตสังคมภายนอกบ้านมากขึ้นที่จะเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนๆ ในโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวัยดังกล่าว เด็กหากเด็กมีพัฒนาการในวัยต้นๆ อย่างเหมาะสม ในขั้นนี้ เด็กจะมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนกลุ่มเดียวกัน
5. ขั้นอวัยวะเพศตอนปลาย (Genital Stage) เริ่มจาก 12 ขวบเป็นต้นไป ในระยะนี้เด็กจะเข้าสู่วัยรุ่น ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่และวัยชรา โดยมี Erogonous Zone จะมาอยู่ที่อวัยวะเพศ (Genitel Area) เมื่อเด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทั้งหญิงและชายต่างๆ กัน และมีพัฒนาการทางร่างกายตนมีความสามารถในการสืบพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ มีความต้องการตามสัญชาตญาณทางเพศอย่างรุนแรง ต้องการเป็นตัวของตัวเอง ต้องการเป็นอิสระในขณะเดียวกับก็ต้องการได้รับความอบอุ่น และการดูแลเอาใจใส่ทางจิตใจจากพ่อแม่ เมื่อบุคคลมีวุฒิภาวะทางเพศอย่างสมบูรณ์แล้ว จะเกิดความพึงพอใจทางด้านเพศ มีการแสวงความสุขทางเพศระหว่างชายหญิง บุคคลที่มีการพัฒนาการทางบุคลิกภาพอย่างปกติ ไม่มีการติดตรึง ก็จะสามารถมีชีวิตทางสังคมที่ถูกต้องเหมาะสมคือมีครอบครัว และสามารถแสดงบทบาททางเพศ และบทบาทของพ่อแม่ได้อย่างเหมาะสม
จะเห็นได้ว่า พัฒนาการทางบุคลิกภาพตามความเชื่อของ ฟรอยด์ จะมีความสัมพันธ์กับพลังลิบิโด (Libido) กับลักษณะทางชีวภาพของบุคคลที่จะนำไปสู่สภาวะทางสุขภาพจิต หากการพัฒนาการแต่ละขั้นเป็นไปด้วยความเหมาะสม ก็จะทำให้บุคคลมีบุคลิกภาพที่ปกติ แต่ถ้าพัฒนาการแต่ละขั้นเกิดการติดตรึง จะมีผลทำให้เกิดความผิดปกติทางบุคลิกภาพในรูปแบบต่าง เช่น โรคจิตหรือโรคประสาทที่ถือว่า มีความแปรปรวนในทางบุคลิกภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 5 ปีแรกของชีวิตจะเป็นช่วงการสร้างพื้นฐานทางบุคลิกภาพของบุคคลประสบการณ์ที่รุนแรง ที่เกิดขึ้นในระยะนี้อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อบุคลิกภาพของเด็กไปตลอดชีวิต ซึ่งพ่อแม่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดบรรยากาศของการเลี้ยงดูลูกๆ ให้เหมาะสมที่จะสร้างพื้นฐาน ทางบุคลิกภาพที่มั่นคง และเหมาะสมเพื่อให้เป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพที่สมบูรณ์อย่างเต็มที่
กลวิธานในการป้องกันตนเอง
ตามแนวคิดของฟรอยด์เชื่อว่ากลวิธานในการป้องกันตนเองนั้นเป็นกลวิธีทั้งหมดที่อีโก้ใช้ให้เป็นประโยชน์เมื่อต้องตกในสภาวะที่เกิดความขัดแย้งใจความคับข้องใจ ความวิตกกังวล ความตึงเครียด กลวิธานในการป้องกันตนเองนี้จะเป็นการทำงานในระดับของจิตไร้สำนึกที่แต่ละบุคคลเข้าใจได้ยาก ซึ่งนักจิตวิเคราะห์เชื่อว่า การตัดสินใจที่สำคัญที่สุดในชีวิตของบุคคลนั้นบุคคลจะได้รับอิทธิพลมาจากกลไกในระดับจิตไร้สำนึกของแต่ละบุคคลนั่นเอง เช่น การเลือกคบเพื่อน การสร้างศัตรู การเลือกอาชีพ การยอมรับในค่านิยมต่างๆ และการมองภาพพจน์ของตนเองและคนอื่นๆ เป็นต้น
กลวิธานในการป้องกันตัวเป็นลักษณะของการตอบสนองที่ค่อนข้างจะคงที่ทำให้บุคคลรับรู้ผิดพลาดไปจากความเป็นจริงเนื่องจากว่าไม่มีความสามารถหรือทักษะหรือแรงจูงใจที่เพียงพอสำหรับการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดจากภายใน หรือความขัดแย้งใจที่เกิดจากการถูกคุกคามความปลอดภัยจากภายนอก โดยที่บุคคลจะสร้างกลวิธานในการป้องกันตนเองขึ้นมานั้นเกิดจากสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือประการแรกบุคคลมีความวิตกกังวลสูงมากในเรื่องหนึ่งเรื่องใดและอีโก้ ( ego ) หาวิธีลดหรือแก้ไขไม่ได้ด้วยวิธีการที่มีเหตุผลและประการที่สองอีโก้ไม่สามารถประนีประนอมแรงขับระหว่างความต้องการของอิดและแรงหักห้ามของซุปเปอร์อีโก้ได้ อีโก้จึงตกอยู่ในภาวะตึงเครียด จึงจำเป็นต้องหาวิธีการลดความตึงเครียด
ความวิตกกังวลกับการใช้กลวิธานในการป้องกันตน ความวิตกกังวลเกี่ยวข้องกับกลวิธานในการป้องกันตนกล่าวคือ เมื่อมีความวิตกกังกลเกิดขึ้น วิธีการหนึ่งที่จะใช้เพื่อลดความวิตกกังวลและทำให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่สมดุล ฟรอยด์เชื่อว่าเรื่องความวิตกกังวลเป็นสภาวะทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการไม่ได้รับความพึงพอใจ มีความรู้สึกว่าตนเองไม่ปลอดภัย จะได้รับอันตรายจากสิ่งที่อยู่รอบตัวซึ่งฟรอยด์เชื่อว่าความวิตกกังวลนั้นเป็นผลมาจากการที่อีโก้ ( ego ) ไม่สามารถทำหน้าที่ประนีประนอม อิด( id ) และซุปเปอร์อีโก้(superego) ได้อย่างเหมาะสม จะทำให้บุคคลเกิดความวิตกกังวล ความคับข้องใจ
ความวิตกกังวล ( anxiety )
ความวิตักกังวล มี 3 ประเภท คือ ความวิตกกังวลต่อสิ่งที่เป็นจริง ( objective anxiety or reality anxiety ) ความวิตกกังวลแบบโรคประสาท ( neurotic anxiety )และ ความวิตกกังวลเชิงศีลธรรม ( moral anxiety )
1. ความวิตกกังวลต่อสิ่งที่เป็นจริง เป็นความวิตกกังวลที่เกิดจากความกลัวอันตรายจากภายนอกที่เผชิญอยู่จริงๆ
2. ความวิตกกังวลแบบโรคประสาท เป็นความวิตกกังวลที่มีสาเหตุให้บุคคลแสดงอาการบางอย่างออกมา เนื่องจากกลัวการถูกลงโทษที่ไม่สามารถควบคุมพลังของสัญชาตญาณไว้ได้
3. ความวิตกกังวลเชิงศีลธรรม เป็นความวิตกกังวลเมื่อเกิดขึ้นแล้ว และไม่สามารแก้ไขได้ด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพ จะเป็นความวิตกกังวลที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง บุคคลจะลดตัวลงมาสู่ภาวะเหมือนทารกที่ช่วยตนเองไม่ได้ เมื่ออีโก้ไม่สามารถจะต่อสู้กับความวิตกกังวล โดยวิธีการอันมีเหตุผลก็จำต้องถอยกลับไปใช้วิธีการอันไม่ตรงกับความเป็นจริงที่เรียกว่า กลไกป้องกันตน
ความคับข้องใจ ( frustration )
เมื่อบุคคลมีปัญหาหรืออุปสรรคเกิดขึ้น บุคคลจะความรู้สึกคับข้องใจ (frustration) และมีความวิตกกังวล ( anxiety ) บุคคลจึงพยายามหาวิธีลดความคับข้องใจโดยใช้กลวิธานในการป้องกันตนเอง (defense mechanism) ความคับข้องใจกับการใช้กลวิธานในการป้องกันตนเองจะทำให้ สถานการณ์ที่ทำให้เกิดความคับข้องใจเมื่อพิจารณาตามที่มา คือ จากภายนอกและภายในร่างกายของแต่ละบุคคลนั้นมีสาเหตุมาจาก 3 ประการคือ ความขาดแคลน ความสูญเสียและความขัดแย้ง โดยอธิบายสรุปคือ
1. ความขาดแคลน (privations)
1.1 ความขาดแคลนจากภายนอก (external privation) เป็นสถานการณ์ของความคับข้องใจที่เกิดจากความต้องการ (needs) อยากได้ในสิ่งที่ปกติแล้วจะสามารถหาได้จากโลกภายนอก แต่ในขณะนี้กลับพบว่าไม่มีสิ่งที่ต้องการอยู่ในนั้น เช่น คนหิว แต่พบว่า ไม่มีอาหารตามที่ต้องการ
1.2 ความขาดแคลนจากภายใน (internal privation) เป็นสถานการณ์ของความคับข้องใจที่เกิดจากบุคคลผู้นั้นขาดแคลนบางสิ่งบางอย่างที่ควรจะมีในตนเองไป เช่น ชายคนหนึ่งไม่มีเสน่ห์ เพียงพอที่จะสร้างความพึงพอใจให้เกิดกับเพื่อนหญิงของเขา
2. ความสูญเสีย (deprivations)
2.1 ความสูญเสียจากภายนอก (external deprivation) เป็นสถานการณ์ของความคับข้องใจที่เกิดจากการสูญเสียสิ่งของบางอย่าง หรือการตายจากไปของบุคคลที่มีความผูกพันกันมาก่อน เช่น สามีสูญเสียภรรยาสุดที่รักตายจากไป หรือบ้านที่เคยอาศัยมานานหลายปีถูกไฟไหม้ไป เป็นต้น
2.2 ความสูญเสียจากภายใน (internal deprivation) เป็นสถานการณ์ของความคับข้องใจที่เกิดจากการสูญเสียที่ไม่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม แต่บุคคลถือว่าสิ่งที่สูญเสียไปนั้น เมื่อก่อนนี้เขามีอยู่และไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเคยชินกับสภาพเช่นนั้นได้ เช่น นาย ก. เคยไว้ผมยาว แต่ต้องตัดทิ้งไป ทำให้เขาสูญเสียจุดเด่นในตัวเขาไป
3. ความขัดแย้ง (conflicts)
3.1 ความขัดแย้งจากภายนอก (external conflicts) เป็นสถานการณ์ของความคับข้องใจที่เกิดจากความพิการทางร่างกายของตนและความพิการนั้นได้ขัดขวางพฤติกนนมตนเอง
3.2 ความขัดแย้งจากภายใน (internal conflicts) เป็นสถานการณ์ของความคับข้องใจอันเนื่องมาจากการยึดมั่นในคุณงามความดีซึ่งเป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้พบบุคคลประสบความสำเร็จที่นำไปสู่ความพึงพอใจของตน
ความขัดแย้งทำให้บุคคลต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมรอบตัวทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล สิ่งของ และเหตุการณ์ สิ่งที่ดึงดูดใจย่อมทำให้เราอยากเข้าหาและเลือกสิ่งนั้น สิ่งใดไม่ดึงดูดใจหรือไม่ต่อสิ่งใดหรือสถานการณ์ใดนั้น มิได้ขึ้นอยู่กับสิ่งนั้นหรือสถานการณ์นั้น แต่เกิดจากความรู้สึกและเจตคติของตนเองที่มีต่อสิ่งนั้นๆ
ความขัดแย้งมี 3 ประเภท ได้แก่
1. ความขัดแย้งชนิดบวก-บวก (approach-approach conflict) เกิดขึ้นเมื่อสถานการณ์หรือเป้าหมายหลายๆ อย่างดึงดูดใจพร้อม ๆ กัน แต่เราจำเป็นต้องเลือกอันใดอันหนึ่ง
2. ความขัดแย้งชนิดลบ-ลบ (avoidance-avoidance conflict) เกิดขึ้นเมื่อสถานการณ์หรือเป้าหมายทั้งสองอย่างไม่ดึงดูดใจ และต้องการหลบหลีก แต่จำเป็นต้องตัดสินใจเลือกอันใดอันหนึ่ง
3. ความขัดแย้งชนิดบวก-ลบ (approach-avoidance conflict) เกิดขึ้นจากสถานการณ์หรือเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งมีแรงดึงดูดใจให้เข้าหากัน และแรงผลักดันให้หลีกเลี่ยงในเวลาเดียวกัน
การแก้ปัญหาเมื่อเกิดความขัดแย้งคือ บุคคลมักอดทนกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้น หรือไม่ก็ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงความต้องการนั้นเสียใหม่ หรือใช้วิธีการหลอกตัวเองให้บังเกิดความสบายใจ ซึ่งเป็นลักษณะของการใช้กลวิธานในการป้องกันตนเอง นิภา นิธยายน (2530 : 84)
กลวิธานในการป้องกันตนเอง ที่สำคัญ มี 2 ชนิด คือ
1. กลวิธานในการพัฒนาบุคลิกภาพ บุคลิกภาพพัฒนาเนื่องมาจากการตอบสนองความเครียดที่เกิดจากกระบวนการเจริญเติบโตของร่างกาย ความคับข้องใจ ความขัดแย้งใจ และความหวาดหวั่น (threats) เมื่อมีความเครียดเกิดขึ้น บุคคลจึงแสวงหาวิธีการที่จะลดความเครียด ทำให้บุคลิกภาพเกิดการพัฒนาวิธีการที่บุคคลเรียนรู้ ได้แก่ การเลียนแบบ (identification) การย้ายแหล่งทดแทน (displacement) และการทดเทิด (sublimation)
2. กลวิธานในการป้องกันตนเองของอีโก้ บุคคลจะสร้างกลไกป้องกันตนเองขึ้นเมื่อไม่สามารถคลี่คลายความวิตกกังวลที่กำลังคุกคามได้ กลไกป้องกันตนเองที่สำคัญ มี 5 ชนิด ได้แก่ การเก็บกด (repression) การตรึงแน่น (fixation) การกล่าวโทษผู้อื่น (projection) การถดถอย (regression) และการแสดงปฏิกิริยาตรงข้าม (reaction formation)
จะเห็นได้ว่าความวิตกกังวล ความคับข้องใจ และความขัดแย้ง เป็นสภาวะที่ทำให้บุคคล
ต้องพบอยู่เสมอดังนั้นกลวิธานในการป้องกันตนเอง มีไว้เพื่อรักษาสภาพจิตใจให้อยู่สภาวะสมดุลและสามารถรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่นไว้ได้ด้วย
การพัฒนาบุคลิกภาพ
การพัฒนาบุคลิกภาพของตามแนวทฤษฎีนี้สิ่งสำคัญคือ ครอบครัว เป็นสถาบันทางสังคมแห่งแรกที่ทุกคนต้องเกี่ยวข้อง ชีวิตครอบครัวที่มีความรักใคร่ ความกลมเกลียว และอบอุ่นมั่นคงในวัยเยาว์ย่อมเป็นรากฐานสำคัญของบุคลิกภาพที่ดีในภายหน้า เด็กจะมีความมั่นคงในจิตใจ มีความไว้วางใจในผู้อื่น มองโลกในแง่ดี สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมและเผชิญชีวิตด้วยความมั่นใจ แต่ในทางตรงข้ามหากชีวิตเริ่มแรกได้รับแต่ประสบการณ์ซึ่งสร้างความรู้สึกหวาดระแวงและหวั่นกลัว ขาดผู้ให้ความรักและการอุ้มชู เด็กประเภทนี้มักจะมีพฤติกรรมโดดเดี่ยว พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจได้รับการกระทบกระเทือนอย่างหนักจนถึงขั้นมีความผิดปกติทางจิตใจได้ในที่สุด
และบุคคลที่มีครอบครัวประเภทบ้านแตก (broken home) หมายถึง บิดาและหรือมารดาต้องจากเด็กไป จะด้วยการหย่าร้าง หรือความตายก็ตาม เด็กย่อมได้รับความกระทบกระเทือนอย่างหนัก จากความสูญเสียบุคคลที่ตนรักและยึดถือเป็นเจ้าของ ยิ่งถ้าฝ่ายที่ยังอยู่กับเด็กแสดงความรู้สึกหงุดหงิด ก้าวร้าวจะเกิดผลร้ายแก่จิตใจเด็กอย่างมากและเป็นแผลใจจนกระทั่งมาแสดงออกตอนวัยรุ่น
1. อิด (Id) จะเป็นต้นกำเนิดของบุคลิกภาพ และเป็นส่วนที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด Id ประกอบด้วยแรงขับทางสัญชาตญาณ (Instinct) ที่กระตุ้นให้มนุษย์ตอบสนองความต้องการ ความสุข ความพอใจ ในขณะเดียวกันก็จะทำหน้าที่ลดความเครียดที่เกิดขึ้น การทำงานของ Id จึงเป็นไปตามหลักความพอใจ (Pleasure Principle) ที่ไม่คำนึงถึงความเหมาะสมตามความเป็นจริง จะเป็นไปในลักษณะของการใช้ความคิดในขั้นปฐมภูมิ (Primary Process of Thinking) เช่น เด็กหิวก็จะร้องไห้ทันที เพื่อตอบสนองความต้องการของเขา และส่วนใหญ่ที่อยู่ในระดับจิตไร้สำนึก
2. อีโก้ (Ego) จะเป็นส่วนของบุคลิกภาพที่ทำหน้าที่ประสาน อิด และ ซูเปอร์อีโก้ ให้แสดงบุคลิกภาพออกมาเพื่อให้เหมาะสมกับความเป็นจริง และขอบเขตที่สังคมกำหนดเป็นส่วนที่ทารกเริ่มรู้จักตนเองว่า ฉันเป็นใคร Egoขึ้นอยู่กับหลักแห่งความเป็นจริง(Reality Principle)ที่มีลักษณะของการใช้ความคิดในขั้นทุติยภูมิ (Secondary Process of Thinking) ซึ่งมีการใช้เหตุผล มีการใช้สติปัญญา และการรับรู้ที่เหมาะสม และอีโก้ (Ego) เป็นส่วนที่อยู่ในระดับจิตสำนึกเป็นส่วนใหญ่
3. ซูเปอร์อีโก้(Superego)นั้นเป็นส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมจรรยา บรรทัดฐานของสังคม ค่านิยม และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่ผลักดันให้บุคคลประเมินพฤติกรรมต่างๆ ทีเกี่ยวข้องกับมโนธรรม จริยธรรมที่พัฒนามาจากการอบรมเลี้ยงดู โดยเด็กจะรับเอาค่านิยม บรรทัดฐานทางศีลธรรมจรรยา และอุดมคติที่พ่อแม่สอนเข้ามาไว้ในตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่เด็กมีอายุประมาณ 3 – 5 ขวบ (ระยะ Oedipus Complex) และเด็กจะพัฒนาความรู้สึกเหล่านี้ไปตามวัย โดยมีสภาพแวดล้อมทางบุคคลเป็นองค์ประกอบสำคัญการทำงานของ Superego จะขึ้นอยู่กับหลักแห่งจริยธรรม (Moral Principle) ที่ห้ามควบคุม และจัดการไม่ให้ Id ได้รับการตอบสนองโดยไม่คำนึงถึงความผิดชอบชั่วดี โดยมี Ego เป็นตัวกลางที่ประสานการทำงานของแรงผลักดันจาก Id และ Superego
โดยทั่วไปแล้ว Superego จะเป็นเรื่องของการมีมโนธรรม (Conscience) ที่พัฒนามาจากการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ หรือผู้อบรมเลี้ยงดู ซึ่งเป็นค่านิยมที่พ่อแม่ถ่ายทอดให้ลูกว่าสิ่งใดดีควรประพฤติปฏิบัติหรือไม่อย่างไร ส่วนนี้จะทำให้บุคคลเกิดความรู้สึกผิด (Guilt Feeling) ที่จะติดตามรบกวนจิตใจของบุคคลเมื่อกระทำสิ่งใดที่ขัดต่อมโนธรรมของตนเองและส่วนที่ เรียกว่าอุดมคติแห่งตน (Ego-Ideal) ที่พัฒนามาจากการเอาแบบอย่าง (Identification) จากบุคคลที่เคารพรักเช่น พ่อแม่ ผู้อบรมเลี้ยงดู และคนใกล้ชิด ทำให้เด็กรับรู้ว่าทำสิ่งใดควรประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะได้รับการยอมรับและความชื่นชมยกย่องซึ่งทำให้เกิดความอิ่มเอิบใจ เมื่อได้ทำตามอุดมคติของตนบางส่วนของ Superego จะอยู่ในระดับจิตสำนึกและบางส่วนจะอยู่ในระดับจิตไร้สำนึก
พัฒนาการทางบุคลิกภาพ
ฟรอยด์ ได้อธิบายถึงการพัฒนาการทางบุคลิกภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการทางเพศ (Stage of Psychosexual Development) จากความเชื่อเกี่ยวกับสัญชาตญาณทางเพศในเด็กทารกที่แสดงออกมาในรูปพลังของ ลิบิโด (Libido) และสามารถเคลื่อนที่ไปยังส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายและบริเวณที่พลังลิบิโดไปรวมอยู่เรียกว่า ที่ของความรู้สึกพึงพอใจ (Erogeneous Zone) เมื่อพลังลิบิโดไปอยู่ในส่วนใดก็จะก่อให้เกิดความตึงเครียด (Tension) ขึ้นที่ส่วนนั้น วิธีการที่จะขจัดความตึงเครียด ได้ก็โดยการเร้าหรือกระตุ้นส่วนนั้นอย่างเหมาะสม เพื่อทำให้เกิดความพึงพอใจ (Gratification) บริเวณที่พลัง Libido เคลื่อนไปอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ หรือวัยต่างๆ ของบุคคล จะทำให้เกิดการพัฒนาการไปตามขั้นตอนของวัยนั้นๆ ซึ่งฟรอยด์ แบ่งการพัฒนาบุคลิกภาพออกเป็น 5 ขั้น ได้แก่
1. ขั้นปาก (Oral Stage) เริ่มตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ ในวัยนี้ Erogenous Zone จะอยู่บริเวณปาก การได้รับการกระตุ้น หรือเร้าที่ปากจะทำให้เด็กเกิดความพึงพอใจ ทำให้เด็กตอบสนองความพึงพอใจของตนเองโดยการดูด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูดนมแม่จึงเป็นความสุขและความพึงพอใจของเขาในขั้นนี้ ถ้าพ่อแม่หรือผู้ใกล้ชิดให้การอบรมเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม มีการดูแลเอาใจใส่ให้ความรักความอบอุ่นอย่างเต็มที่จะทำให้เด็ก เกิดความไว้วางใจและความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเองและสภาพแวดล้อม เนื่องจากเด็กวัยนี้เริ่มพัฒนาความรักตัวเอง (Narcissism) แต่ถ้าเด็กไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเหมาะสม เช่น ถูกปล่อยให้ร้องไห้เพราะหิวเป็นเวลานานๆ ไม่ได้รับประทานอาหารตามเวลาและไม่ได้รับการสัมผัสที่อบอุ่นหรือการแสดงความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่และผู้ใกล้ชิด จะทำให้เด็กพัฒนาความไม่ไว้วางใจ (Distrust) มีความรู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับตนเองและเกลียดชังสภาพแวดล้อม ทำให้เกิดการยึดติด (Fixatio) ของพัฒนาการในขั้นปาก พลัง Libido บางส่วนไม่ได้รับการเร้าอย่างเหมาะสม จะทำให้การยึดติดอยู่บริเวณปาก และไม่สามารถเคลื่อนที่ไปยังส่วนอื่นของร่างกายตามความเหมาะสมของการพัฒนาการในขั้นต่อไป ก่อให้เกิดความผิดปกติทางบุคลิกภาพในขั้นปาก และเมื่อบุคคลเข้าสู่วัยรุ่นบุคคลก็จะแสดงบุคลิกภาพที่ยึดติดในขั้นปากออกมาในรูปของพฤติกรรมต่างๆ เช่น การติดสุรา ติดบุหรี่ ยาเสพติด ชอบขบเคี้ยวไม่หยุดปาก ชอบกินของคบเคี้ยวกรอบๆ กินอาหารแปลกๆ เช่น กินกุ้งเต้น หือ ชอบพูดจาเยาะเย้ยถากถาง ก้าวร้าว บ้าอำนาจ พูดจาใส่ร้ายป้ายสีได้โดยขาดความละอาย และชอบทำตัวให้เป็นจุดเด่นในสังคมโดยวิธีการใช้ปากหรือเสียงดังๆ เป็นต้น
2. ขั้นทวาร (Anal Stage) เด็กจะมีอายุตั้งแต่ 1-3 ขวบ ในวัยนี้ Erogenous Zone จะอยู่ที่บริเวณทวาร โดยที่เด็กจะมีความพึงพอใจเมื่อมีสิ่งมากระตุ้น หรือเร้าบริเวณทวารในระยะนี้เด็กเริ่มเป็นตัวของตัวเอง เริ่มมีความพึงพอใจกับความสามารถในการควบคุมอวัยวะของตนเอง โดยเฉพาะอวัยวะขับถ่าย กิจกรรมที่เด็กมีความสุขจะเกี่ยวข้องกับการกลั้นอุจจาระ (Anal Retention) และการถ่ายอุจจาระ (Anal Expulsion) ความขัดแย้งที่มักเกิดขึ้นในขั้นนี้คือ การฝึกหัดการขับถ่าย (Toilet) Training ดังนั้น ถ้าพ่อแม่เลี้ยงดูด้วยความเอาใจใส่ และฝึกการขับถ่ายให้เป็นไปอย่างเหมาะสมกับเวลา และสถานที่โดยไม่บังคับ หรือเข้มงวดและวางระเบียบมากเกินไป เพราะไม่เช่นนั้น เด็กจะเกิดความรู้สึกไม่แน่ใจในความมีอิสระ และความสามารถในการบังคับอวัยวะของตนเอง ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่า พ่อแม่จะปล่อยทุกอย่างให้เป็นไปตามความพึงพอใจของเด็กโดยไม่สนใจให้การดูแลและฝึกหัดให้เด็กเรียนรู้การขับถ่ายที่เหมาะสม ก็จะทำให้เด็กติดตรึงอยู่กับความต้องการของตนเอง ไม่พัฒนาการยอมรับจากผู้อื่น จะเห็นได้ว่าปฏิกิริยา กฎเกณฑ์ และเจตคติของพ่อแม่ในการฝึกหัดการขับถ่ายของเด็ก จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลิกภาพที่เหมาะสมในขั้นทวารเพราะถ้าสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่กับเด็กเป็นอย่างดีโดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับการฝึกการขับถ่ายของเด็กจึงมีความสำคัญ ต่อการพัฒนาบุคลิกภาพที่เหมาะสมในขั้นทวาร เพราะถ้าสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่กับเด็กเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับการฝึกการขับถ่าย จะทำให้เด็กพัฒนาอารมณ์ที่มั่นคง เชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง เป็นคนสงบเสงี่ยมอ่อนโยน แต่ถ้าเด็กเกิดการติดตรึงในขั้นตอนนี้ จะทำให้ไม่สามารถพัฒนาบุคลิกภาพตามความเหมาะสม เช่น ถ้าเด็กพอใจกับการถ่ายอุจจาระมากเกินไป เมื่อโตขึ้นก็จะเป็นคนสุรุ่นสุร่าย แต่ถ้าเด็กพอใจกับการกลั้นอุจจาระไว้ไม่ยอมขับถ่าย ก็จะเป็นคนขี้เหนียว ตระหนี่ หรือถ้าเด็กรู้สึกโกรธหรือเกลียด พ่อแม่ที่เข้มงวดในเรื่องขับถ่ายก็จะทำให้เด็กมีนิสัยดื้อรั้น แต่ถ้าพ่อแม่ควบคุมเรื่องความสะอาดมากเกินไป ก็จะกลายเป็นเจ้าระเบียบ จู้จี้จุกจิก หรือถ้าพ่อแม่ที่เน้นการขับถ่ายตรงเวลา ไม่รู้จักยืดหยุ่นก็จะกลายเป็นคนเข้มงวด ไม่ยืดหยุ่น แต่ถ้ายึดติดในขั้นนี้เป็นไปอย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดเด็กมีบุคลิกภาพแปรปรวน เช่น ชอบทำร้ายให้ผู้อื่นเจ็บปวด (Sadism) หรือการร่วมเพศด้วยวิธีการต่าง ๆ เป็นต้น
3. ขั้นอวัยวะเพศตอนต้น (Phallic Stage) เริ่มตั้งแต่ 3 – 5 ขวบ ในขั้นนี้ Erogenous Zone จะอยู่ที่อวัยวะเพศ โดยที่เด็กเกิดความรู้สึกพึงพอใจกับการจับต้องอวัยวะเพศ เพราะมีความพึงพอใจทางเพศอยู่ที่ตนเองในระยะแรก ต่อมาในช่วง 4-5 ขวบ พลัง Libido บางส่วนจะเคลื่อนที่ออกจากตนเองไปรวมอยู่ที่พ่อแม่ ซึ่งเป็นเพศตรงข้ามกับเด็ก ทำให้เด็กชายรักใคร่ และหวงแหนแม่จึงเกิดความรู้สึกอิจฉา และเป็นปรปักษ์กับพ่อ ในขณะที่เด็กหญิงจะรักใคร่และหวงแหนพ่อ จึงรู้สึกอิจฉาและเป็นศัตรูกับแม่ ที่เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า เป็นปมออดิพปุส (Oedipus Complex) ในเด็กชาย และปมอีเลคต้า (Electra Complex) ในเด็กหญิง
ในขั้นนี้ นอกจากจะเกิด Oedipus Complex แล้วเด็กชายจะเกิดความวิตกกังวลกลัวว่าจะถูกตัดอวัยวะเพศ (Castration Anxiety) เพราะเด็กชายเริ่มมองเห็นความแตกต่างทางร่างกายของเพศชายและเพศหญิง ทำให้เด็กชายเกิด จินตนาการว่าเด็กหญิงก็มีองคชาต (Penis) แต่ถูกตัดไป จึงเกิดความกังวลไม่อยากให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับตนเอง ทำให้เริ่มเรียนรู้อำนาจของพ่อที่มีเหนือเขา ความรู้สึกเกลียดชัง และเป็น ปรปักษ์กับพ่อ เพราะต้องการแย่งชิงความรักจากแม่ค่อยๆ หมดไป หันมาเป็นมิตรและเลียนแบบ (Identification) พ่อจึงเอา (Introject) บทบาททางเพศชายของพ่อมาไว้ในตนเอง ทำให้ปรากฏการณ์ของ Oedipus Complex หายไป และเด็กจะเลียนแบบบทบาทที่เหมาะสมตามเพศของตนเอง
ในระยะนี้ Superego ของเด็กจะเริ่มพัฒนาจากการรับเอาค่านิยม คุณธรรมและบรรทัดฐานทางสังคมของพ่อแม่มาไว้ในตัว ในขณะที่เด็กหญิง นอกจากจะเกิด Electra Complex แล้ว เด็กหญิงจะเกิดความอิจฉาของ องคชาต (Penis Envy) ในเด็กชาย และรู้สึกต่ำต้อยที่ตนเองไม่มีองคชาตเหมือนเด็กชาย เมื่อเกิดปรากฏการณ์ Electra Complex แล้วเด็กหญิงจะรักใคร่และหวงแหนพ่อในที่เกลียดชังและรู้สึกว่าเป็นคู่แข่งกับแม่ และเห็นว่าพ่อไม่สามารถให้องคชาตแก่ตนได้ จึงเกิดความรู้สึกว่าแม่เป็นผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าตนเอง และแม่ไม่มีองคชาตเช่นกัน ทำให้รู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกับแม่ หันมาเลียนแบบแม่ ทำให้ปมอีเลคตร้าหมดไป ในขณะที่ส่วนของ Superego เริ่มพัฒนาขึ้น
ในขั้นนี้ ถ้าพัฒนาการทางบุคลิกภาพเป็นไปด้วยดี จะทำให้เด็กแสดงบทบาทที่เหมาะสมตามเพศของตนเอง เมื่อโตขึ้นและมีเจตคติที่ดีในเรื่องเพศ แต่ถ้าพัฒนาการเป็นไปอย่างไม่เหมาะสมแล้ว จะเกิดการติดตรึง ทำให้บุคลิกภาพผิดปกติไป เช่น ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว(Impotence)ในเพศชาย และมีความรู้สึกเย็นชาเกี่ยวกับเรื่องเพศ (Frigidity) ในเพศหญิง การรักร่วมเพศ (Homosexuality) หรือชอบอวดอวัยวะเพศ (Exhibitionism) เป็นต้น จะเห็นได้ว่า ขั้นอวัยวะเพศตอนต้น เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการพัฒนาบุคลิกภาพ พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูจะมีบทบาทสำคัญ ที่จะช่วยให้บทบาททางเพศของเด็กเป็นไปด้วยดี พ่อแม่จึงไม่ควรตำหนิหรือเข้มงวดกับเด็กมากเกินไป เมื่อเด็กจับต้องอวัยวะเพศของตน ในขณะเดียวกันเด็กควรได้รับชี้แจง และการสั่งสอนเรื่องเพศ ตามความเหมาะสมกับการอยากรู้อยากเห็นของเขา และพ่อแม่ควรทำให้เป็นแบบอย่างที่ดีในการแสดงบทบาททางเพศ ให้ความรัก ความอบอุ่น และความเอาใจใส่แก่เด็ก มีเวลาใกล้ชิดกับเด็ก ซึ่งทำให้เด็กเรียนรู้ถึงสัมพันธภาพที่ดีในการอยู่ร่วมกันระหว่างเพศเดียวกันและต่างเพศ การให้ข้อมูลทางเพศ ควรใช้เหตุผลและค่านิยมของสังคมที่เหมาะสมในการอธิบายเพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีในเรื่องเพศแก่เด็ก ทำให้เด็กยอมรับความรู้สึกของตนเองและสามารถแสดงความรู้สึกต่างๆ ออกมาได้เหมาะสม กับบทบาททางเพศ ตามบรรทัดฐานของสังคมต่อไป
4. ขั้นแฝง (Latency Stage) เริ่มตั้งแต่ อายุ 6 – 11 ปี ในขั้นนี้ Erogenous Zone จะไม่ปรากฏอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ เสมือนขั้นแฝงของพลัง Libido เป็นระยะพักในเรื่องเพศ และจินตนาการทางเพศ เด็กจะเริ่มมีชีวิตสังคมภายนอกบ้านมากขึ้นที่จะเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนๆ ในโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวัยดังกล่าว เด็กหากเด็กมีพัฒนาการในวัยต้นๆ อย่างเหมาะสม ในขั้นนี้ เด็กจะมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนกลุ่มเดียวกัน
5. ขั้นอวัยวะเพศตอนปลาย (Genital Stage) เริ่มจาก 12 ขวบเป็นต้นไป ในระยะนี้เด็กจะเข้าสู่วัยรุ่น ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่และวัยชรา โดยมี Erogonous Zone จะมาอยู่ที่อวัยวะเพศ (Genitel Area) เมื่อเด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทั้งหญิงและชายต่างๆ กัน และมีพัฒนาการทางร่างกายตนมีความสามารถในการสืบพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ มีความต้องการตามสัญชาตญาณทางเพศอย่างรุนแรง ต้องการเป็นตัวของตัวเอง ต้องการเป็นอิสระในขณะเดียวกับก็ต้องการได้รับความอบอุ่น และการดูแลเอาใจใส่ทางจิตใจจากพ่อแม่ เมื่อบุคคลมีวุฒิภาวะทางเพศอย่างสมบูรณ์แล้ว จะเกิดความพึงพอใจทางด้านเพศ มีการแสวงความสุขทางเพศระหว่างชายหญิง บุคคลที่มีการพัฒนาการทางบุคลิกภาพอย่างปกติ ไม่มีการติดตรึง ก็จะสามารถมีชีวิตทางสังคมที่ถูกต้องเหมาะสมคือมีครอบครัว และสามารถแสดงบทบาททางเพศ และบทบาทของพ่อแม่ได้อย่างเหมาะสม
จะเห็นได้ว่า พัฒนาการทางบุคลิกภาพตามความเชื่อของ ฟรอยด์ จะมีความสัมพันธ์กับพลังลิบิโด (Libido) กับลักษณะทางชีวภาพของบุคคลที่จะนำไปสู่สภาวะทางสุขภาพจิต หากการพัฒนาการแต่ละขั้นเป็นไปด้วยความเหมาะสม ก็จะทำให้บุคคลมีบุคลิกภาพที่ปกติ แต่ถ้าพัฒนาการแต่ละขั้นเกิดการติดตรึง จะมีผลทำให้เกิดความผิดปกติทางบุคลิกภาพในรูปแบบต่าง เช่น โรคจิตหรือโรคประสาทที่ถือว่า มีความแปรปรวนในทางบุคลิกภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 5 ปีแรกของชีวิตจะเป็นช่วงการสร้างพื้นฐานทางบุคลิกภาพของบุคคลประสบการณ์ที่รุนแรง ที่เกิดขึ้นในระยะนี้อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อบุคลิกภาพของเด็กไปตลอดชีวิต ซึ่งพ่อแม่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดบรรยากาศของการเลี้ยงดูลูกๆ ให้เหมาะสมที่จะสร้างพื้นฐาน ทางบุคลิกภาพที่มั่นคง และเหมาะสมเพื่อให้เป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพที่สมบูรณ์อย่างเต็มที่
กลวิธานในการป้องกันตนเอง
ตามแนวคิดของฟรอยด์เชื่อว่ากลวิธานในการป้องกันตนเองนั้นเป็นกลวิธีทั้งหมดที่อีโก้ใช้ให้เป็นประโยชน์เมื่อต้องตกในสภาวะที่เกิดความขัดแย้งใจความคับข้องใจ ความวิตกกังวล ความตึงเครียด กลวิธานในการป้องกันตนเองนี้จะเป็นการทำงานในระดับของจิตไร้สำนึกที่แต่ละบุคคลเข้าใจได้ยาก ซึ่งนักจิตวิเคราะห์เชื่อว่า การตัดสินใจที่สำคัญที่สุดในชีวิตของบุคคลนั้นบุคคลจะได้รับอิทธิพลมาจากกลไกในระดับจิตไร้สำนึกของแต่ละบุคคลนั่นเอง เช่น การเลือกคบเพื่อน การสร้างศัตรู การเลือกอาชีพ การยอมรับในค่านิยมต่างๆ และการมองภาพพจน์ของตนเองและคนอื่นๆ เป็นต้น
กลวิธานในการป้องกันตัวเป็นลักษณะของการตอบสนองที่ค่อนข้างจะคงที่ทำให้บุคคลรับรู้ผิดพลาดไปจากความเป็นจริงเนื่องจากว่าไม่มีความสามารถหรือทักษะหรือแรงจูงใจที่เพียงพอสำหรับการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดจากภายใน หรือความขัดแย้งใจที่เกิดจากการถูกคุกคามความปลอดภัยจากภายนอก โดยที่บุคคลจะสร้างกลวิธานในการป้องกันตนเองขึ้นมานั้นเกิดจากสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือประการแรกบุคคลมีความวิตกกังวลสูงมากในเรื่องหนึ่งเรื่องใดและอีโก้ ( ego ) หาวิธีลดหรือแก้ไขไม่ได้ด้วยวิธีการที่มีเหตุผลและประการที่สองอีโก้ไม่สามารถประนีประนอมแรงขับระหว่างความต้องการของอิดและแรงหักห้ามของซุปเปอร์อีโก้ได้ อีโก้จึงตกอยู่ในภาวะตึงเครียด จึงจำเป็นต้องหาวิธีการลดความตึงเครียด
ความวิตกกังวลกับการใช้กลวิธานในการป้องกันตน ความวิตกกังวลเกี่ยวข้องกับกลวิธานในการป้องกันตนกล่าวคือ เมื่อมีความวิตกกังกลเกิดขึ้น วิธีการหนึ่งที่จะใช้เพื่อลดความวิตกกังวลและทำให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่สมดุล ฟรอยด์เชื่อว่าเรื่องความวิตกกังวลเป็นสภาวะทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการไม่ได้รับความพึงพอใจ มีความรู้สึกว่าตนเองไม่ปลอดภัย จะได้รับอันตรายจากสิ่งที่อยู่รอบตัวซึ่งฟรอยด์เชื่อว่าความวิตกกังวลนั้นเป็นผลมาจากการที่อีโก้ ( ego ) ไม่สามารถทำหน้าที่ประนีประนอม อิด( id ) และซุปเปอร์อีโก้(superego) ได้อย่างเหมาะสม จะทำให้บุคคลเกิดความวิตกกังวล ความคับข้องใจ
ความวิตกกังวล ( anxiety )
ความวิตักกังวล มี 3 ประเภท คือ ความวิตกกังวลต่อสิ่งที่เป็นจริง ( objective anxiety or reality anxiety ) ความวิตกกังวลแบบโรคประสาท ( neurotic anxiety )และ ความวิตกกังวลเชิงศีลธรรม ( moral anxiety )
1. ความวิตกกังวลต่อสิ่งที่เป็นจริง เป็นความวิตกกังวลที่เกิดจากความกลัวอันตรายจากภายนอกที่เผชิญอยู่จริงๆ
2. ความวิตกกังวลแบบโรคประสาท เป็นความวิตกกังวลที่มีสาเหตุให้บุคคลแสดงอาการบางอย่างออกมา เนื่องจากกลัวการถูกลงโทษที่ไม่สามารถควบคุมพลังของสัญชาตญาณไว้ได้
3. ความวิตกกังวลเชิงศีลธรรม เป็นความวิตกกังวลเมื่อเกิดขึ้นแล้ว และไม่สามารแก้ไขได้ด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพ จะเป็นความวิตกกังวลที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง บุคคลจะลดตัวลงมาสู่ภาวะเหมือนทารกที่ช่วยตนเองไม่ได้ เมื่ออีโก้ไม่สามารถจะต่อสู้กับความวิตกกังวล โดยวิธีการอันมีเหตุผลก็จำต้องถอยกลับไปใช้วิธีการอันไม่ตรงกับความเป็นจริงที่เรียกว่า กลไกป้องกันตน
ความคับข้องใจ ( frustration )
เมื่อบุคคลมีปัญหาหรืออุปสรรคเกิดขึ้น บุคคลจะความรู้สึกคับข้องใจ (frustration) และมีความวิตกกังวล ( anxiety ) บุคคลจึงพยายามหาวิธีลดความคับข้องใจโดยใช้กลวิธานในการป้องกันตนเอง (defense mechanism) ความคับข้องใจกับการใช้กลวิธานในการป้องกันตนเองจะทำให้ สถานการณ์ที่ทำให้เกิดความคับข้องใจเมื่อพิจารณาตามที่มา คือ จากภายนอกและภายในร่างกายของแต่ละบุคคลนั้นมีสาเหตุมาจาก 3 ประการคือ ความขาดแคลน ความสูญเสียและความขัดแย้ง โดยอธิบายสรุปคือ
1. ความขาดแคลน (privations)
1.1 ความขาดแคลนจากภายนอก (external privation) เป็นสถานการณ์ของความคับข้องใจที่เกิดจากความต้องการ (needs) อยากได้ในสิ่งที่ปกติแล้วจะสามารถหาได้จากโลกภายนอก แต่ในขณะนี้กลับพบว่าไม่มีสิ่งที่ต้องการอยู่ในนั้น เช่น คนหิว แต่พบว่า ไม่มีอาหารตามที่ต้องการ
1.2 ความขาดแคลนจากภายใน (internal privation) เป็นสถานการณ์ของความคับข้องใจที่เกิดจากบุคคลผู้นั้นขาดแคลนบางสิ่งบางอย่างที่ควรจะมีในตนเองไป เช่น ชายคนหนึ่งไม่มีเสน่ห์ เพียงพอที่จะสร้างความพึงพอใจให้เกิดกับเพื่อนหญิงของเขา
2. ความสูญเสีย (deprivations)
2.1 ความสูญเสียจากภายนอก (external deprivation) เป็นสถานการณ์ของความคับข้องใจที่เกิดจากการสูญเสียสิ่งของบางอย่าง หรือการตายจากไปของบุคคลที่มีความผูกพันกันมาก่อน เช่น สามีสูญเสียภรรยาสุดที่รักตายจากไป หรือบ้านที่เคยอาศัยมานานหลายปีถูกไฟไหม้ไป เป็นต้น
2.2 ความสูญเสียจากภายใน (internal deprivation) เป็นสถานการณ์ของความคับข้องใจที่เกิดจากการสูญเสียที่ไม่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม แต่บุคคลถือว่าสิ่งที่สูญเสียไปนั้น เมื่อก่อนนี้เขามีอยู่และไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเคยชินกับสภาพเช่นนั้นได้ เช่น นาย ก. เคยไว้ผมยาว แต่ต้องตัดทิ้งไป ทำให้เขาสูญเสียจุดเด่นในตัวเขาไป
3. ความขัดแย้ง (conflicts)
3.1 ความขัดแย้งจากภายนอก (external conflicts) เป็นสถานการณ์ของความคับข้องใจที่เกิดจากความพิการทางร่างกายของตนและความพิการนั้นได้ขัดขวางพฤติกนนมตนเอง
3.2 ความขัดแย้งจากภายใน (internal conflicts) เป็นสถานการณ์ของความคับข้องใจอันเนื่องมาจากการยึดมั่นในคุณงามความดีซึ่งเป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้พบบุคคลประสบความสำเร็จที่นำไปสู่ความพึงพอใจของตน
ความขัดแย้งทำให้บุคคลต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมรอบตัวทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล สิ่งของ และเหตุการณ์ สิ่งที่ดึงดูดใจย่อมทำให้เราอยากเข้าหาและเลือกสิ่งนั้น สิ่งใดไม่ดึงดูดใจหรือไม่ต่อสิ่งใดหรือสถานการณ์ใดนั้น มิได้ขึ้นอยู่กับสิ่งนั้นหรือสถานการณ์นั้น แต่เกิดจากความรู้สึกและเจตคติของตนเองที่มีต่อสิ่งนั้นๆ
ความขัดแย้งมี 3 ประเภท ได้แก่
1. ความขัดแย้งชนิดบวก-บวก (approach-approach conflict) เกิดขึ้นเมื่อสถานการณ์หรือเป้าหมายหลายๆ อย่างดึงดูดใจพร้อม ๆ กัน แต่เราจำเป็นต้องเลือกอันใดอันหนึ่ง
2. ความขัดแย้งชนิดลบ-ลบ (avoidance-avoidance conflict) เกิดขึ้นเมื่อสถานการณ์หรือเป้าหมายทั้งสองอย่างไม่ดึงดูดใจ และต้องการหลบหลีก แต่จำเป็นต้องตัดสินใจเลือกอันใดอันหนึ่ง
3. ความขัดแย้งชนิดบวก-ลบ (approach-avoidance conflict) เกิดขึ้นจากสถานการณ์หรือเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งมีแรงดึงดูดใจให้เข้าหากัน และแรงผลักดันให้หลีกเลี่ยงในเวลาเดียวกัน
การแก้ปัญหาเมื่อเกิดความขัดแย้งคือ บุคคลมักอดทนกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้น หรือไม่ก็ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงความต้องการนั้นเสียใหม่ หรือใช้วิธีการหลอกตัวเองให้บังเกิดความสบายใจ ซึ่งเป็นลักษณะของการใช้กลวิธานในการป้องกันตนเอง นิภา นิธยายน (2530 : 84)
กลวิธานในการป้องกันตนเอง ที่สำคัญ มี 2 ชนิด คือ
1. กลวิธานในการพัฒนาบุคลิกภาพ บุคลิกภาพพัฒนาเนื่องมาจากการตอบสนองความเครียดที่เกิดจากกระบวนการเจริญเติบโตของร่างกาย ความคับข้องใจ ความขัดแย้งใจ และความหวาดหวั่น (threats) เมื่อมีความเครียดเกิดขึ้น บุคคลจึงแสวงหาวิธีการที่จะลดความเครียด ทำให้บุคลิกภาพเกิดการพัฒนาวิธีการที่บุคคลเรียนรู้ ได้แก่ การเลียนแบบ (identification) การย้ายแหล่งทดแทน (displacement) และการทดเทิด (sublimation)
2. กลวิธานในการป้องกันตนเองของอีโก้ บุคคลจะสร้างกลไกป้องกันตนเองขึ้นเมื่อไม่สามารถคลี่คลายความวิตกกังวลที่กำลังคุกคามได้ กลไกป้องกันตนเองที่สำคัญ มี 5 ชนิด ได้แก่ การเก็บกด (repression) การตรึงแน่น (fixation) การกล่าวโทษผู้อื่น (projection) การถดถอย (regression) และการแสดงปฏิกิริยาตรงข้าม (reaction formation)
จะเห็นได้ว่าความวิตกกังวล ความคับข้องใจ และความขัดแย้ง เป็นสภาวะที่ทำให้บุคคล
ต้องพบอยู่เสมอดังนั้นกลวิธานในการป้องกันตนเอง มีไว้เพื่อรักษาสภาพจิตใจให้อยู่สภาวะสมดุลและสามารถรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่นไว้ได้ด้วย
การพัฒนาบุคลิกภาพ
การพัฒนาบุคลิกภาพของตามแนวทฤษฎีนี้สิ่งสำคัญคือ ครอบครัว เป็นสถาบันทางสังคมแห่งแรกที่ทุกคนต้องเกี่ยวข้อง ชีวิตครอบครัวที่มีความรักใคร่ ความกลมเกลียว และอบอุ่นมั่นคงในวัยเยาว์ย่อมเป็นรากฐานสำคัญของบุคลิกภาพที่ดีในภายหน้า เด็กจะมีความมั่นคงในจิตใจ มีความไว้วางใจในผู้อื่น มองโลกในแง่ดี สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมและเผชิญชีวิตด้วยความมั่นใจ แต่ในทางตรงข้ามหากชีวิตเริ่มแรกได้รับแต่ประสบการณ์ซึ่งสร้างความรู้สึกหวาดระแวงและหวั่นกลัว ขาดผู้ให้ความรักและการอุ้มชู เด็กประเภทนี้มักจะมีพฤติกรรมโดดเดี่ยว พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจได้รับการกระทบกระเทือนอย่างหนักจนถึงขั้นมีความผิดปกติทางจิตใจได้ในที่สุด
และบุคคลที่มีครอบครัวประเภทบ้านแตก (broken home) หมายถึง บิดาและหรือมารดาต้องจากเด็กไป จะด้วยการหย่าร้าง หรือความตายก็ตาม เด็กย่อมได้รับความกระทบกระเทือนอย่างหนัก จากความสูญเสียบุคคลที่ตนรักและยึดถือเป็นเจ้าของ ยิ่งถ้าฝ่ายที่ยังอยู่กับเด็กแสดงความรู้สึกหงุดหงิด ก้าวร้าวจะเกิดผลร้ายแก่จิตใจเด็กอย่างมากและเป็นแผลใจจนกระทั่งมาแสดงออกตอนวัยรุ่น
9/2/53
แกรนด์ดัชเชสอนาสตาเชีย นิโคเลฟน่า แห่งรัสเซีย
จากเรื่องเล่าลือสู่ตำนาน
อนาสตาเซีย นิโคลาเยฟนา สันนิษฐานว่าทรงถูกปลงพระชนม์พร้อมพระบิดา พระมารดา และพระภคินีและพระราชอนุชา ในห้องใต้ดินของบ้าน Ipatiev ณ เมืองเอคาเตลินเบิร์ก เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 เมื่อเพียงชันษาเพียงแค่ 17 ปี โดยกองกำลังตำรวจลับบอลเชวิก ภายใต้การบังคับบัญชาของ ยูคอฟ ยูรอฟสกี
แต่มีการเล่าขานว่า อนาสตาเซีย เป็นพระธิดาองค์เดียวที่ทรงรอดมาได้ เนื่องจากขณะที่ฝ่ายบอลเชวิกยิงประหารพระองค์ กระสุนได้กระทบกับเครื่องประดับอัญมณีและกระเด้งหายไป และพระองค์ก็ทรงแกล้งสิ้นพระชนม์
เรื่องเล่าขานนี้ถือเป็นเรื่องที่โด่งดังที่สุดเรื่องหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ไม่กี่ปีต่อมาหลังจากการประหารได้มีข่าวลือแพร่สะพัดไปทั่วว่าแกรนด์ดัชเชสองค์เล็กยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ในที่สุด เมื่อ พ.ศ. 2465 ก็ได้มีสตรีผู้หนึ่งนามว่า แอนนา แอนเดอร์สัน ประกาศตนว่าเป็นอนาสตาเซีย แต่ก็ได้มีการตรวจดีเอ็นเอเมื่อ พ.ศ. 2537 (หลังจากที่แอนนา แอนเดอร์สันได้เสียชีวิตไปแล้วถึงกว่า 20 ปี) และผลที่ได้คือ เธอมิใช่อนาสตาเซียตามที่อ้างแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี ผู้สนับสนุนหลายคนปฏิเสธผลการพิสูจน์นี้ อีกผู้หนึ่งที่อ้างว่าตนคืออนาสตาเซีย คือ ยูจิเนีย สมิธ เมื่อ พ.ศ. 2529 ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มโต้เถียงเรื่องอนาสตาเซีย แต่คำกล่าวอ้างของเธอไม่สอดคล้องกับความจริง
เมื่อ พ.ศ. 2534 ได้มีการค้นพบพระศพ 2 พระศพ พระศพหนึ่งเป็นของ ซาเรวิช อเล็กซี พระโอรสองค์เล็ก และอีกพระศพซึ่งได้รับการยืนยันจากนักวิชาการว่าคือพระศพของ อนาสตาเซีย ทั้ง 2 พระศพมิได้ถูกฝังร่วมกับพระบิดา พระมารดา และพระภคินี แต่ถูกเผาโดยกลุ่มคนที่ไม่ทราบแน่ชัดในป่าข้างๆ สุสาน
เมื่อ พ.ศ. 2543 คริสต์จักรนิกายรัสเซียนออร์โธดอกส์ ได้ประกาศให้ พระเจ้าซาร์นิโคลัส, พระนางอเล็กซานดรา, แกรนด์ดัชเชสโอลกา, แกรนด์ดัชเชสทาเทียนา, แกรนด์ดัชเชสมาเรีย, แกรนด์ดัชเชสอนาสตาเซีย และ ซาเรวิช อเล็กซี เป็นนักบุญ
นาตาลี เกลโบวากับประเทศไทย
ภายหลังการประกวดนางงามจักรวาล การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยว่าจ้างให้นาตาลี เกลโบวา เป็นตัวแทนเผยแพร่วัฒนธรรมของประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว มีการถ่ายภาพยนตร์โฆษณาพร้อมกับครอบครัวของนาตาลี เผยแพร่วัฒนธรรมการไหว้ ออกเผยแพร่ในประเทศต่างๆ
สินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปว่าจ้างนาตาลีเป็นนางแบบโฆษณา และพิมพ์รูปนาตาลีบนหีบห่อบะหมี่ทุกชิ้น ทั้งที่ขายในประเทศไทย และส่งออกไปต่างประเทศ
ตั้งแต่กรกฎาคม พ.ศ. 2549 นาตาลี เกลโบวา เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ ให้กับ บริษัท สิงห์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด โดยเซ็นต์สัญญา 1 ปี จากนั้น นาตาลีใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้ชื่อเล่นว่า ฟ้า และทำธุรกิจผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพและความงาม โดยเปิดบริษัทชื่อ บริษัทฟ้า เกลโบวา อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และได้สมรสกับ ภราดร ศรีชาพันธุ์ นักเทนนิสชื่อดังของไทยเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และกำหนดแต่งงานวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ที่โรงแรมโอเรียนเต็ล
3/2/53
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)